สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
Bonds กับการดูกระแสเงิน Forex คือ อะไร ?
Bonds หรือตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงิน ในรูปของ สัญญาทางการเงินระหว่างผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ถือตราสารหนี้ มีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่แน่นอน มีการระบุวันชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้า หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ออกตราสารอยู่ในฐานะลูกหนี้ เนื่องจากผู้ออกตราสารต้องการนำเงินไปลงทุน ส่วนผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้
การลงทุนในตราสารหนี้ จะได้รับดอกเบี้ยสม่ำเสมอ ความเสี่ยงไม่มาก ในระหว่างถือยังไม่ครบกำหนดสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินฝาก ณ เวลาที่ออกพันธบัตร
ประเภทของตราสารหนี้ (Bonds)
1.ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เรียกว่า “พันธบัตร” โดยมีคำที่ไกล้เคียงกันคือ ตั๋วเงินคงคลัง ซึ่งแตกต่างกันที่
- ตั๋วเงินคงคลัง เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี รัฐบาลจะออกเพื่อกู้เงินระยะสั้นจากประชาชนหรือนักลงทุน ไม่มีดอกเบี้ยแต่จะขายในราคาที่ต่ำกว่าที่ระบุในตั๋ว เมื่อครบกำหนดจะได้รับเงินเต็มตามที่ระบุบนตั๋ว เช่นราคาตั๋ว 100 บาท ขายที่ 70 บาทความเสี่ยงน้อยที่สุดแต่อัตราดอกเบี้ยต่ำ
- พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ระยะมากกว่า 1 ปี ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศ และลงทุนในรัฐวิสาหกิจต่างๆ ความเสียงน้อย อัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก อายุการลงทุนมักมีอายุ 5-10 ปี
2.ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน เรียกว่า “หุ้นกู้” โดย หุ้นกู้นั้นยังแบ่งเป็น
- หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยคงที่ เป็นหุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตามที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก
- หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว เป็นหุ้นกู้ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สามารถเปลี่ยนแปลงขึ้งลงตามอัตราและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในตราสารหนี้
- หุ้นกู้แบบทยอยจ่ายเงินต้น เป็นหุ้นกู้ที่ทยอยจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยคืนเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด
- หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นหุ้นซึ่งให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหุ้นในการแปลงสภาพจากหุ้นกู้เป็นหุ้นประเภทอื่นเช่น หุ้นสามัญ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสารหนี้
3.Secured Bond เป็นตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้
4.Unsecured Bond เป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (อันนี้ต้องดูดีๆ หน่อย ตรวจสอบธรรมาภิบาลให้ดีก่อนลงทุน ประวัติผู้บริหาร นโยบายการเงิน คือนำเงินทุนจากตราสารหนี้ไปลงทุนจริงไหม อาจพิจารณาได้จากบริษัทจัดทำเครดิตเรตติ้ง ที่ประกาศรับรองไว้ส่วนหนึ่ง ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงสูง
เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนมาก มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาพันธบัตรมากซะเท่าไร่ หรือจะบอกได้ว่าแทบไม่เคยดูด้วยซ้ำ แต่นี่เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเทรดเดอร์ Forex คุณต้องให้ความสนใจกับราคาพันธบัตรเนื่องจากจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงกระแสเงินทุนได้อย่างดี
เมื่อความเสี่ยงในตลาดการเงินมีสูงขึ้น (ในแง่ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เศรษฐกิจไม่ดี , การเมือง , หรือสงคราม เป็นต้น) นักลงทุนก็มักจะหลักเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างตลาดหุ้น และย้ายเงินทุนดังกล่าวไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า อย่างค่าเงินสวิสฟรังค์ , ค่าเงินเยน และ “พันธบัตรรัฐบาล” (พันธบัตรรัฐบาลใช้แทนสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงในทางวิชาการ)
เรามาทำการเข้าใจก่อนว่า เมื่อราคาพันธบัตรรัฐบาล “สูงขึ้น” อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรัฐบาลก็จะ “ลดลง”
โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล และ ค่าเงิน มักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เมื่ออัตราผลตอบแทนสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนให้หันมาลงทุนในพันธบัตรในประเทศนั้น ทำให้ค่าเงินในประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ในทางกลับกัน เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลง ความน่าดึงดูดในการลงทุนก็น้อยลง ค่าเงินในประเทศนั้นมีแนวโน้มอ่อนค่าเนื่องจากไม่มีกระแสเงินทุนไหลเข้ามา
จากกราฟตัวอย่างข้างต้น BUND (พันธบัตรรัฐบาลของประเทศเยอรมนี) เส้นสีน้ำเงิน และ EUR/USD เส้นสีส้ม ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อราคา BUND ขึ้น บ่งชี้ได้ว่า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะลดลง ทำให้ความต้องการเงินในประเทศมีลดลง เป็นสัญญาณให้ค่าเงิน EUR อ่อนค่าลงในรอบถัดมา
เหล่านี้เองที่เทรดเดอร์ Forex จะใช้เป็นข้อมูลคำนวณแนวโน้มของกระแสเงินในตลาด Forex เพื่อคาดการระยะยาว ตลอดจนหาจุดเข้าหรือจุดออกในตลาด Forex ได้
แถมให้อีกนิดในข้อมูลครับ เอาไว้ประดับความรู้
องค์ประกอบของตราสารหนี้
- มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value) หมายถึง มูลค่าเงินต้นที่ระบุไว้ในตราสารหนี้แต่ละหน่วยที่ผู้กู้ จะต้องชำระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น เมื่อครบกำหนดชำระ มูลค่าดังกล่าวอาจลดลงเมื่อมีการทยอยจ่ายคืนเงินต้น
- อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกมีภาระจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น
- งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon Frequency) คือ จำนวนครั้งของการดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกตราสารหนี้ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี
- วันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date) หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้ ที่ผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือ
- ชื่อผู้ออก (Issuer Name)
- ข้อสัญญา และประเภทของตราสารหนี้ (Covenants) หมายถึง เงื่อนไข สิทธิแฝง และข้อมูลที่ระบุ ซึ่งผู้ถือจะต้องปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น เช่น การดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกินอัตราที่กำหนด การให้สิทธิในการไถ่ถอนตราสารนั้นๆ ก่อนกำหนดตามที่ระบุไว้ เป็นต้น
ทีมงาน: forexthai.in.th