Forexthai.in.th ย่อให้
- คู่เงินรอง (Minor Currency Pairs) คือ คู่เงินหลักที่จับคู่ระหว่างสกุลเงินหลักด้วยกันเอง ยกเว้นจับคู่กับดอลลาร์สหรัฐ (USD) เช่น EUR/GBP, GBP/JPY, AUD/CAD เป็นต้น
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาคู่เงินรอง ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย, สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และความเชื่อมั่นของนักลงทุน
- คู่เงินรองมีจุดเด่น คือ ความผันผวนสูงทำให้มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่า แต่ก็มีจุดด้อยคือสภาพคล่องต่ำและสเปรดกว้างกว่าคู่เงินหลัก ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่า
- ความแตกต่างระหว่างคู่เงินหลักและคู่เงินรอง คือ คู่เงินหลักมักมีสภาพคล่องสูงกว่า, สเปรดแคบกว่า, ความผันผวนต่ำกว่าและความเสี่ยงน้อยกว่า
บทความนี้เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับตลาด Forex กันดีกว่าครับ โดยจะเน้นไปที่เรื่อง “คู่เงินรอง (Minor Currency Pairs)” ครับ คู่เงินนี้มีความสำคัญยังไง? แตกต่างจากคู่เงินหลักในแง่ไหนบ้าง? พร้อมกับมีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่านทุกคนกันครับ
คู่เงินรอง (Minor Currency Pairs) คืออะไร?
- ในตลาด Forex คู่เงินรอง (Minor Currency Pairs) หมายถึงเหล่าสกุลเงินหลักที่ไม่ได้มีการจับคู่กับดอลลาร์สหรัฐ (USD) แต่จับคู่สกุลเงินหลักอื่นๆ กันเอง เช่น EUR/GBP, GBP/JPY, AUD/CAD
- คู่เงินรองถือว่ามีความสำคัญในตลาด Forex ค่อนข้างมากเนื่องจากเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถกระจายพอร์ตการลงทุนได้หลากหลายมากขึ้น
- โดยทั่วไปคู่เงินรองมักมีความผันผวนมากกว่าคู่เงินหลัก เนื่องจากมีปริมาณการซื้อขายที่น้อยกว่า ทำให้มีโอกาสในการทำกำไรมากขึ้นแต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน
- มีสถิติที่น่าสนใจจาก fxssi เกี่ยวกับคู่เงินที่ได้รับความนิยมในการเทรดมากที่สุด แน่นอนว่าอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น EURUSD แต่เราจะพูดถึงคู่สกุลเงินรองกันบ้างว่าคู่ไหนที่เทรดเดอร์นิยมเทรดที่สุด?
- EURJPY มี Volume การเทรดทั้งหมด 3.93%
- GBPJPY มี Volume การเทรดทั้งหมด 3.57%
- EURGBP มี Volume การเทรดทั้งหมด 2.78%
- AUDJPY มี Volume การเทรดทั้งหมด 2.73%
- EURAUD มี Volume การเทรดทั้งหมด 1.8%

ตัวอย่างปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาคู่เงินรอง
คู่เงินรองมีการขยับตามปัจจัยที่เหมือนกันกับคู่เงินหลักเลยครับ แต่อาจจะต่างกันตรงที่สกุลเงิน USD จะส่งผลทางอ้อม(ซึ่งอาจจะรุนแรงได้เช่นกัน) มากกว่าทางตรงแบบคู่สกุลงเงินหลักครับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสกุลเงินรองก็มีดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย
- การประกาศปรับตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของเหล่าธนาคารกลางในแต่ประเทศสกุลเงินรอง เช่น ธนาคารแห่งอังกฤษ (BOE) หรือ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เป็นต้น
- หากธนาคารเหล่านี้มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะส่งผลให้ค่าเงินสกุลนั้นแข็งค่าเนื่องจากดึงดูดการลงทุนการและส่งออก กลับกันหากธนาคารกลางลดดอกเบี้ยเงินทุนก็จะไหลออกและค่าเงินก็จะอ่อนลง
2. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
- ปัจจัยต่อมาคือเรื่องของสถานการณ์เศรษฐกิจซึ่งอาจจะรวมไปถึงการเมืองด้วย เช่น ตัวเลข GDP, อัตราเงินเฟ้อ, อัตราการว่างงาน, การเลือกตั้ง เป็นต้น
- สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ หากนักลงทุนมองว่าประเทศนี้แนวโน้มเศรษฐกิจไม่น่าจะเติบโตหรือโตได้ช้า อาจจะย้ายไปลงทุนในประเทศอื่นทำให้ค่าเงินประเทศนั้นจึงอ่อนลงได้
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
- สกุลเงินรองบางสกุลมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวเช่น สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราคาทองคำ เนื่องจากออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตทองคำรายใหญ่
- ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำในตลาดโลกจึงสามารถส่งผลต่อมูลค่าของ AUD ได้โดยตรงครับ และยังมีอีกหนึ่งสกุลเงินรอง เช่น ดอลลาร์แคนาดา (CAD) ที่ราคามีผลจากราคาน้ำมัน
4. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
- อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่า บางครั้ง ตลาด Forex ก็ได้รับผลกระทบจากจิตวิทยาและความเชื่อมั่นของนักลงทุน เช่น ความตื่นตระหนกหรือความโลภ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเทขายสกุลเงินจนราคาเคลื่อนไหวรุนแรงได้เลย
- ดังนั้นปัจจัยต่างๆ ทั้ง อัตราดอกเบี้ย, สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนเช่นกัน

จุดเด่นและจุดด้อยของคู่เงินรอง
คู่เงินรองแม้ว่าจะได้รับความนิยมในการเทรดอยู่บ้างแต่ก็ยังไม่เท่ากับคู่สกุลเงินหลักทั้งหลายที่จับคู่กับ USD เรามาดูกันดีกว่าว่าจุดเด่นและจุดด้อยที่ควรระวังของคู่สกุลเงินรองมีอะไรกันบ้าง โดยผมสร้างตารางเปรียบเทียบเอาไว้ด้านนี้แล้วครับ
จุดเด่น | จุดด้อย |
ความผันผวนสูงกว่าคู่เงินหลัก ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่า | ปริมาณการซื้อขายน้อยกว่าคู่เงินหลัก ทำให้เกิด Slippage ได้ง่าย |
เพิ่มความหลากหลายในการเทรด เป็นการกระจายความเสี่ยงจากคู่เงินหลัก | สกุลเงินรองบางตัวมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าคู่เงินหลัก ทำให้ต้นทุนในการเทรดสูงขึ้น เช่น GBP/JPY |
ได้รับอิทธิพลจากเศรษฐกิจของสองประเทศโดยตรง ไม่ขึ้นกับดอลลาร์สหรัฐ(USD) มากเกินไป | เนื่องจากความผันผวนสูงทำให้ราคามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มือใหม่ต้องระวัง |
มีโอกาสทำกำไรจากแนวโน้มที่ชัดเจนของคู่เงินบางคู่ เช่น GBP/JPY หรือ EUR/AUD | วิเคราะห์ยากกว่า เพราะต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินทั้งสองที่ไม่ใช่ USD |
เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกับคู่เงินหลักได้ | จากความผันผวนที่รุนแรง เทรดเดอร์ต้องใช้การบริหารความเสี่ยงที่ดีเพื่อป้องกัน Margin Call |
เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เทรด Forex โดยใช้ประโยชน์จากความผันผวนของคู่เงินรองได้ | ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ ควรเริ่มต้นด้วยคู่เงินหลักที่มีความผันผวนน้อยกว่า |
โดยรวมแล้วคู่เงินรองเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ชอบโอกาสทำกำไรจากความเคลื่อนไหวและความผันผวนที่ไม่ขึ้นอยู่กับ USD มากเกินไป แต่ต้องเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแต่ละคู่เงินให้ดีเพราะบางครั้งราคาอาจเคลื่อนไหวรุนแรงกว่าคู่เงินหลักมาก
ความแตกต่างระหว่างคู่เงินหลักและคู่เงินรอง
ความแตกต่างระหว่างคู่เงินหลักและคู่เงินรองนอกเหนือจากการจับคู่สกุลเงินกับ USD แล้ว เราจะมาพูดในส่วนของสภาพคล่อง (Liquidity), ส่วนต่างราคา (Spreads), ความผันผวน(Volatility) และความเสี่ยง(Risk)
1. Liquidity (สภาพคล่อง)
- สภาพคล่องก็คือจำนวนเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในการซื้อขายของคู่สกุลเงินนั้น มันสะท้อนได้ว่า ถ้าสกุลเงินไหนมีสภาพคล่องสูงย่อมซื้อขายง่าย
- โดยคู่สกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงหรือคู่เงินที่มีการซื้อขายบ่อย จะสามารถแลกเปลี่ยนได้รวดเร็วและมีต้นทุนต่ำในกระบวนการเทรด
- ตัวอย่างเช่น EUR/USD มี Volume การซื้อขายมากที่สุดในตลาด ทำให้เข้าออเดอร์ได้รวดเร็วและ Spread ต่ำ ในขณะที่ EUR/AUD อาจมีสภาพคล่องน้อยกว่า ทำให้เข้าออเดอร์ได้ช้าขึ้นและต้องระวัง Slipage
2. Spreads (ส่วนต่างราคา)
- สืบเนื่องจากข้อที่ 1 หากคู่สกุลเงินมีสภาพคล่องสูงแล้วก็มักจะมีค่า Spreads หรือส่วนต่างราคาที่ต่ำเพราะจำนวนการซื้อขายที่เยอะเกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าร่วมตลาดทำให้ราคาจึงมักจะไม่โดด
- ส่วนใหญ่แล้วคู่เงินหลักก็มีค่า Spreads ที่ต่ำกว่าคู่เงินรองด้วยเหตุผลข้างต้น ซึ่งทำให้คู่เงินหลักใช้ต้นทุนในการเทรดน้อยกว่าแต่ระดับกำไรก็อาจจะน้อยกว่าเทรดคู่เงินรองครับ

3.Volatility (ความผันผวน)
- ความผันผวน คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งราคาขึ้นลงเร็วและแรง = ความผันผวนคู่สกุเงินนั้นสูงมาก
- การที่คู่สกุลเงินหลักมีระดับความผันผวนน้อยกว่าคู่สกุลเงินรองนั้น ทำให้การวิเคราะห์แนวโน้มตลาดมีความเเม่นยำเเละง่ายต่อการวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การซื้อขายนั้นง่ายตามไปด้วย
4. Risk (ความเสี่ยง)
- อันที่จริงการเทรดในตลาด Forex ถือว่าเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเทรดกับคู่สกุลเงินไหนก็ตาม
- เพียงแต่ว่าการเทรดในคู่สกุลเงินหลักเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยในเรื่องความเสี่ยงมากกว่า เพราะแนวโน้มและการวิเคราะห์ที่ง่ายกว่า รวมถึงต้นทุนการเทรดที่น้อยกว่าครับ

วิดีโอเกี่ยวกับคู่สกุลเงินรอง
คู่สกุลเงินสำหรับผู้เริ่มต้น และคู่สกุลเงินที่ควรหลีกเลี่ยง เครดิต By The Trading Channel (The Trading Channel) Focus นาทีที่ 04:03-08:13
วิดีโอตัวนี้พูดถึงการเลือกเทรดคู่สกุลเงินที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้นที่มีบัญชีขนาดเล็กและคู่สกุลเงินที่ควรหลีกเลี่ยง โดยเนื้อหาในคลิปจะยกตัวอย่างคู่สกุลเงินรองที่น่าสนใจและที่ไม่แนะนำด้วยเหตุผลต่างๆ สามารถติดตามรับชมในคลิปได้เลยครับ
- Focus นาทีที่ 04:03 คู่สกุลเงินที่คุณควรหลีกเลี่ยง
- Focus นาทีที่ 05:34 ความแตกต่างของความผันผวนแต่ละตลาด
- Focus นาทีที่ 06:03 อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดว่าสกุลไหนควรเทรด
- Focus นาทีที่ 07:52 คู่สกุลเงินที่แนะนำ
สรุป
ด้วยเหตุผลจากในบทความดูเหมือนว่าคู่เงินรอง (Minor Currency Pairs) จะไม่เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์รับมือกับความผันผวนสูง แต่ก็ใช่ว่าในอนาคตเราจะไม่สามารถเทรดมันได้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับตัวเทรดเดอร์เองว่าตลาด Forex ได้สอนบทเรียนอะไรไปบ้างและเราได้นำมันกลับมาพัฒนาในส่วนไหนบ้าง
หากเรากลายเป็นเทรดเดอร์ที่ดี มีแผนรองรับในทุกสถานการณ์ของตลาดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคู่สกุลเงินหลัก คู่สกุลเงินรองหรือแม้แต่สกุลเงินแปลกใหม่บางคู่ก็ไม่ใช่ปัญญาในการรับมือแต่อย่างใด

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง
อ่านประวัติเพิ่มเติม
Krisorn Himmapan
Content Writer
ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
อ่านประวัติเพิ่มเติมทีมงาน: forexthai.in.th