Forexthai.in.th ย่อให้
- องค์ประกอบหลักของระบบ Margin ที่เทรดควรตระหนักได้แก่ Balance, Equity, Margin, Margin Free, Level
- Margin Call คือสัญญาณเตือนจากโบรกเกอร์ เมื่อ Equity ของพอร์ตลดต่ำกว่าระดับหลักประกันที่กำหนดและต้องการให้เทรดเดอร์เติมเงินหรือปิดออร์เดอร์เพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มเติม
- สาเหตุที่ทำให้เกิด Margin Call เกิดจากบริหารความเสี่ยงที่ผิดพลาด เช่น ใช้ Leverage สูงเกินไป, ขาดการตั้ง Stop Loss, เปิด Position เกินกำลังเงิน, กระจายความเสี่ยงไม่เหมาะสม เป็นต้น
- วิธีป้องกันไม่ให้เกิด Margin Call ควรตั้งจุด Stop Loss ทุกครั้ง, บริหารเงินทุนให้เหมาะสมหรือใช้ทริก เช่น เปิดพอร์ตหลายพอร์ตพร้อมเปิดออร์เดอร์แต่ละพอร์ตเพียงเล็กน้อย
หากใครเทรด Forex มาสักพักจะรู้ว่าหนึ่งสิ่งที่เทรดเดอร์ไม่อยากเจอที่สุดก็คือ “Margin Call” มันคือคำเตือนที่บ่งบอกว่าการเงินและการเทรดของเรากำลังเจอเข้ากับปัญหาซะแล้ว ในบทความนี้จะมาเจาะลึกระบบ Margin ให้เข้าใจและวิธีหลีกเลี่ยงจาก Margin Call แบบมืออาชีพครับ
ส่วนประกอบของระบบ Margin
- Balance คือยอดเงินในบัญชีจากยอดฝาก รวมถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากการซื้อขายที่ปิดไปแล้วและนั่นก็คือยอดที่เราถอนได้
- Equity คือยอดเงินจริงในบัญชี ณ เวลานั้น รวมผลกำไรหรือขาดทุนจากตำแหน่งที่ยังเปิดอยู่ เช่น พอร์ตของเรามี Balance 100$ เปิดออเดอร์และกำลังเป็นกำไร 20$ แต่ยังไม่ได้ปิด ดังนั้น Equity จึงเท่ากับ 120$
- Margin คือจำนวนเงินที่ใช้เป็นหลักประกันในการเปิดสถานการณ์ซื้อขาย โดยโบรกเกอร์จะกันเงินส่วนนี้ไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง
- Free Margin ก็คือเงิน Margin ที่ยังไม่ได้ใช้เป็นหลักประกัน ส่วนนี้บ่งบอกว่าสามารถใช้เปิดสถานะการซื้อขายใหม่ได้เท่าไหร่ ซึ่งคำนวณจาก Equity ลบด้วย Margin
- Level คืออัตราส่วนระหว่าง Equity กับ Margin คูณด้วย 100 (%) เป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของพอร์ต ซึ่งถ้า Level ต่ำก็เสี่ยงที่จะโดน Margin Call สูงมาก

Margin Call คืออะไร?
- Margin call คือการแจ้งเตือนจากโบรกเกอร์เมื่อพอร์ตของเรา Equity ต่ำกว่ากำหนดจากโบรกเกอร์ โดยระดับนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่เราเทรดอยู่ เป็นต้น
- เมื่อ Equity ของพอร์ตลดลงต่ำกว่าระดับหลักประกันที่โบรกเกอร์ตั้งไว้ โบรกเกอร์จะส่ง Margin Call (ในการเทรด Forex ต้องสังเกตเองไม่มีใครเตือนจริงๆ) เพื่อแจ้งเตือนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
- รีบเติมเงินเข้าบัญชีเพื่อเพิ่ม Equity
- ปิดออร์เดอร์บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อลดการขาดทุนหรือที่คุ้นหูกันว่า “ล้างพอร์ต” นั่นเอง
- โดยทั่วไปแล้ว ระดับMargin Call จะอยู่ที่ประมาณ 20-30% แต่ก็สามารถสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ เช่น
- หากโบรกเกอร์กำหนดระดับไว้ที่ 25% หมายความว่า มูลค่าหลักทรัพย์ในพอร์ตต้องไม่ต่ำกว่า 25% ของมูลค่าทั้งหมด หากมูลค่าลดลงต่ำกว่าระดับนี้ คุณจะได้รับ Margin Call

Margin Call มันบ่งบอกถึงอะไร?
- การบริหารความเสี่ยงผิดพลาด: อาจจะเป็นเพราะเทรดเดอร์ ใช้ Leverage สูงเกินไป ทำให้มีโอกาสขาดทุนมากเมื่อราคาไปผิดทางกับที่ตั้งออเดอร์ไว้
- การขาดการวางแผนการเทรด: ไม่มีการกำหนดจุด Stop Loss ให้ชัดเจนทำให้การขาดทุนสะสมจนเงินในบัญชีลดลงรวมถึงการมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการเทรด
- การ Overtrade: เราอาจจะเปิด Position ใหญ่เกินกว่าที่เงินทุนในพอร์ตรองรับได้
- การกระจายความเสี่ยงไม่ดี: เทรดเดอร์อาจจะรับมือกับความผันผวนของตลาดไม่ชำนาญพอ เช่น เทรดอยู่แค่คู่สกุลเงินเดียวและคาดหวังกับคู่นั้นเกินไป
- ละเลยข่าวสารและสภาวะตลาด: เมื่อเราไม่มีแผนรองรับ ไม่มี SL ตั้งไว้การประมาทเพียงครู่เดียวอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจนราคาผันผวนรุนแรงและปรับกลยุทธ์เทรดไม่ทัน

วิธีเลี่ยงการถูก Margin Call
เชื่อว่าเทรดเดอร์ทุกคนคงไม่มีใครอยากเจอกับ Margin Call ใช่ไหมครับ มันก็มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงจาก Margin Call อยู่ครับแต่ เราต้องทำมันก่อนที่จะเกิด Margin Call นะครับ เพราะถ้าหากมันเกิดไปแล้วก็อาจจะสายไปแล้วครับ
1. ศึกษาและทำความเข้าใจ Leverage:
- บางคนตั้งแต่เริ่มเทรด Forex อาจยังไม่รู้จัก Margin, Leverage ดีพอ โดยเฉพาะ Leverage เป็นดาบสองคม แม้ว่าจะช่วยเพิ่มกำไร แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงตามไปด้วย
- นี่คือแนวทางในการเลือกใช้ Leverage ให้เหมาะสมกับเงินทุนของเราครับ
- เงินทุนต่ำกว่า $1,000: เลเวอเรจไม่ควรเกิน 1:100 เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงไม่ให้มากเกินไป
- เงินทุน $1,000 – 10,000$: เลเวอเรจในช่วง 1:100 – 1:200 เหมาะที่สุดต่อการรักษาสมดุลในพอร์ต
- เงินทุนมากกว่า 10,000$: เลเวอเรจ 1:200 ขึ้นไป เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรตามขนาดเงินทุน
- แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเทรดเดอร์แต่ละคนด้วย เช่น หากเป็นมือใหม่ก็แนะนำว่าใช้เลเวอเรจไม่ต้องสูงมากนัก รอมีฝีมือและประสบการณ์ก็ค่อยๆ ปรับเลเวอเรขึ้นไป
2. ตั้งจุด Stop Loss ทุกครั้ง:
- พื้นฐานการจำกัดความเสี่ยงของการเทรดแต่ละครั้งคือการตั้ง Stop Loss ก็ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ ซึ่งบางคนตั้ง SL ตามเทคนิคส่วนตัว บางคนก็ตั้งตามเงินทุน
- การตั้ง SL ตามเทคนิคส่วนตัวอาจจะตั้งตามอินดิเคเตอร์ที่ใช้ เช่น การตั้ง Stop Loss ตามเส้น Moving Average หรือตามแนวรับแนวต้าน
- ส่วนการตั้ง SL โดยอิงจากเงินทุนอาจจะต้องคำนวณระยะห่างจากจุดเข้าออเดอร์และจุด SL ตามจำนวนเงินที่รับได้ เช่น การใช้หลัก RRR หรือเซ็ต Trailing Stop ก็ได้
3. การสร้างพอร์ทการลงทุนหลายพอร์ท:
- อันนี้เป็นทริกแนะนำเล็กน้อยจากทีมงาน Forexthai คือ การเปิดพอร์ตหลายพอร์ตและเปิดออเดอร์ขนาดเล็กในแต่ละพอร์ตช่วยลดความเสี่ยงในการล้างพอร์ตได้เช่นกัน
- ยกตัวอย่างเช่น เปิดออเดอร์เพียงออเดอร์เดียวด้วยขนาด Lot เล็กๆ แต่เปิดกระจายกันไปในแต่ละพอร์ตหลายๆ พอร์ต ความเสี่ยงที่จะถูก Margin Call น้อยกว่าเปิดออเดอร์รวมกันในพอร์ตเดียว
4. ติดตามข่าวสารและเปิดแจ้งเตือน:
- ส่วนใครที่ชอบลืมหรือไม่ค่อยได้ติดตามข่าวเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อราคามากนัก การมีแจ้งเตือนเอาไว้ย่อมปลอดภัยกว่า
- อาจจะตั้งการแจ้งเตือน Margin Alert แต่ขอแนะนำว่าตั้งแจ้งเตือนตามกราฟที่เราเทรดจะดีกว่า เช่น หากเราเน้นเทรดกราฟ 4H ก็ดูทุกๆ 4 ชั่วโมง หรือเทรดกราฟรายวันก็ดูวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เพื่อจะได้ติดตามสถานการณ์

ระดับภัยพิบัติ Margin Level
ทีมงาน Forexthai พยายามรวบรวมแนวทางการปฏิบัติหากพอร์ตของเทรดเดอร์ตกอยู่ในระดับ Margin Level ต่างๆ ว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร? ควรทำอย่างไร? ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
ระดับ Margin Level | สถานการณ์ | แนวทางการปฏิบัติ |
> 100% (ปลอดภัย) | บัญชียังมี Margin เพียงพอ |
|
เข้าใกล้ 100% (เริ่มเสี่ยง) | บัญชีเริ่มเสี่ยง เข้าใกล้ Margin Call ! |
|
< 50% (Margin Call) | โบรกเกอร์แจ้งเตือนให้เติมเงินหรือปิดบางออเดอร์ |
|
< 20%-30% (Stop Out) | โบรกเกอร์เริ่มปิดออเดอร์อัตโนมัติและล้างพอร์ต |
|
พยายามควบคุม Margin Level ให้อยู่เหนือ 100% ด้วยการติดตามพอร์ตอย่างใกล้ชิดและใช้กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่เข้มงวด และเตรียมแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินให้พร้อมเสมอ โดยรวมถึงเงินทุนสำรองและการปิดออเดอร์ชั่วคราว
วิดีโอเกี่ยวกับ Margin Call และ Stop Out
MARGIN CALL & STOP OUT LEVEL เครดิต By Subject Investing Focus นาทีที่ 00:25-04:15
บางคนยังสับสนระหว่าง Margin Call และ Stop Out อยู่ครับ โดย Margin Call จะเกิดก่อน Stop Out และวิดีโอที่ทีมงานแชร์นี้ก็อธิบายเรื่อง MARGIN CALL & STOP OUT LEVEL ได้ดีมากๆ ผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพความแตกต่างได้อย่างชัดเจนครับ เชิญรับชมได้เลยครับ
- Focus นาทีที่ 0:25 อธิบายหลักการ Margin
- Focus นาทีที่ 1:00 อธิบายหลักการ Margin Call
- Focus นาทีที่ 3:01 อธิบายหลักการ Stop Out
สรุป
เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจะเจอกับ Margin Call บ่อยๆ แน่นอนและอย่าให้ไปถึงระดับ Stop Out เลยครับ มุมมองในเชิงบวกของการเจอกับ Margin Call ที่เห็นอยู่ก็มีเพียงอย่างเดียวคือ เราจะได้ทบทวนกระบวนการทางความคิดและการเทรดของเราใหม่ทั้งหมดเพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับโอกาสครั้งใหม่ในการเทรด Forex เสมอไปนะครับ ดังนั้นเราควรเตรียมพร้อมและตระหนักตั้งแต่ต้นถึงความอันตรายของ Margin Call เพื่อให้พอร์ตของเราไม่ต้องสะอาดขาวเนียน แต่เต็มไปด้วยตัวเลขกำไรแทนครับ
อ้างอิง
ทีมงาน: forexthai.in.th