Forexthai.in.th ย่อให้
- ระบบเทรด MA Crossover Pullback: เป็นระบบเทรดระยะกลางไทม์เฟรม 4H
- หลักการเทรดเบื้องต้น: ระบบนี้จะใช้การ Crossover ของเส้น MA ในการดูแลแนวโน้มของเทรนด์ และเข้าเทรดในจุดที่ตลาดกำลังย่อตัวหรือพักตัวเพื่อไปต่อ
- เครื่องมือที่ใช้: EMA 2 เส้น, เส้นแนวรับแนวต้าน, และแท่งเทียนกลับตัว
- ข้อดี: เทรดตามเทรนด์ได้ดี, ความเสี่ยงต่ำ
- ข้อเสีย: แพ้ Sideway, ไม่เหมาะกับคนไม่เก่ง Price Action
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
รู้จักกับ MA Crossover Pullback
นอกจากการเทรดแบบ MA Crossover อีกหนึ่งรูปแบบการเทรดกับเส้น MA ที่มีประสิทธิภาพมากก็คือการเทรด Pullback (การเทรดบนจุดย่อของราคาในบริเวณแนวรับหรือแนวต้านของเส้น MA)
รู้จักโครงสร้างตลาดก่อนเทรด Pullback
ในตลาด Forex โครงสร้างตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
- ตลาดที่เป็นเทรนด์ (Trending Market)
- ตลาดที่ไม่เป็นเทรนด์ (Non-Trending Market หรือ Sideways Market)
เพื่อที่จะทำให้การเทรด Pullback มีประสิทธิภาพถึงขีดสุด เราต้องโฟกัสกับตลาดที่เป็นเทรนด์ มาดูรูปแบบของโครงสร้างตลาดที่เป็นเทรนด์กันเลยครับ
- ตลาดที่เป็นเทรนด์ขาขึ้น: ราคาจะทำจุดสูงสุดใหม่ (Higher High: HH) ก่อนที่จะย่อลงมาเพื่อทำจุดต่ำสุดที่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม (Higher Low : HL) และทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง (Higher High: HH) พูดง่าย ๆ ตลาดมีการยก High และยก Low ให้สูงขึ้น
- ตลาดที่เป็นเทรนด์ขาลง: ราคาจะทำจุดต่ำสุดใหม่ (Lower Low: LH) ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นไปเพื่อทำจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม (Lower High : LH) และทำจุดต่ำสุดใหม่อีกครั้ง (Lower Low: LL) พูดง่าย ๆ ตลาดมีการกด High และกด Low ให้ต่ำลง
แล้วจุด Pullback อยู่ตรงไหน?
- ในขาขึ้น: ราคากำลังขึ้นไปเรื่อยๆ แต่จะมีช่วงที่มัน “ย่อ”ลงมาเล็กน้อย ก่อนที่จะขึ้นต่อ จุดย่อตัวนี้แหละคือ Pullback
- ในขาลง: ราคากำลังลงไปเรื่อยๆ แต่จะมีช่วงที่มัน “เด้ง” ขึ้นมาเล็กน้อย ก่อนที่จะลงต่อ จุดเด้งขึ้นนี้ก็คือ Pullback เช่นกัน
ข้อดีของการเทรด Pullback
ประโยชน์ที่เราจะได้จากการเทรดในรูปแบบนี้คือ เราจะได้เปิดออเดอร์เทรดตอนราคาพักตัว ทำให้ได้ราคาที่ดี มีโอกาสทำกำไรสูง และมีความเสี่ยงต่ำ
ระบบการเทรด MA Crossover Pullback
เรารู้แล้วว่าการ Pullback คืออะไร ทีนี้มาดูกันเรื่องอินดิเคเตอร์บ้าง ระบบการเทรด MA Crossover Pullback จะใช้ 2 ตัวด้วยกัน คือ
- EMA เส้นที่ 1 ใช้ค่า Length 8
- EMA เส้นที่ 2 ใช้ค่า Length 21
ความลับของเส้น MA
การใช้งานเส้น MA นอกจากบอกแนวโน้มของเทรนด์ในตลาด แต่ยังใช้งานเป็นแนวรับ/แนวต้านแบบ Dynamic เคยสังเกตไหมครับว่า บางครั้งที่กราฟวิ่งเข้าใกล้เส้น MA หรือแตะเส้น ราคาจะไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ บางครั้งก็เกิดการกลับตัวหรือพักตัว นั่นก็เพราะว่าเส้น MA ใช้เป็นแนวรับและแนวต้านสำคัญ ทำให้เราหาโอกาสในการเข้าเทรดได้นั่นเอง
ลักษณะแท่งเทียน (Price Action) คอนเฟิร์มการเข้าเทรด
เรารู้แล้วว่าต้องมองหาโอกาสในการเทรดเมื่อเกิดการ Pullback ที่เส้น MA ทีนี้เรามาดูตัวคอนเฟิร์มสัญญาณเทรดกันครับ ในระบบนี้เราจะใช้ลักษณะของแท่งเทียนในการเข้าเทรด คือ
- Two-bar Reversal
- Inside Bar
Two-bar Reversal
เป็นหนึ่งในรูปแบบแท่งเทียนกลับตัวที่มีลักษณะคล้ายกับแท่งเทียน Engulfing และมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
- Bullish Two-bar reversal แท่งเทียนแท่งที่ 1 จะเป็นสีแดง ส่วนแท่งเทียนแท่งที่ 2 จะเป็นสีเขียว โดยราคาเปิดและราคาปิดของแท่งที่ 2 จะไม่กลืนกินแท่งเทียนแท่งที่ 1
- Bearish Two-bar reversal แท่งเทียนแท่งที่ 1 จะเป็นสีเขียว ส่วนแท่งเทียนแท่งที่ 2 จะเป็นสีแดง โดยราคาเปิดและราคาปิดของแท่งที่ 2 จะไม่กลืนกินแท่งเทียนแท่งที่ 1
Inside Bar
เป็นหนึ่งในประเภทแท่งเทียนกลับที่ประกอบไปด้วยแท่งเทียน 2 แท่งขึ้นไป โดยแท่งแรกจะถูกเรียกว่า Mother Bar (MB) และแท่งอื่นๆจะเรียกว่า Inside Bar (IB)
- Mother Bar จะมีลักษณะของแท่งเทียนที่ยาวและมีขนาดใหญ่กว่า Inside Bar
- Inside Bar เป็นแท่งเทียนที่มีขนาดเล็ก โดยจะมีราคาเปิดและราคาปิดที่อยู่ในกรอบของ Mother Bar
การเทรด Inside Bar จะเทรดก็ต่อเมื่อราคาของ IB ทะลุกรอบราคา MB
หลักการเทรดเบื้องต้น
- ใช้คุณลักษณะพิเศษของเส้น MA นั่นก็คือความเป็นแนวรับแนวต้านแบบ Dynamic
- เพื่อรอราคา Pullback กลับมา ก่อนที่จะเข้าเทรดด้วยการกลับตัวของแท่งเทียน
เงื่อนไขการเทรดหน้า Buy
1. EMA 8 ตัดกับ EMA 21 ในทิศทางขาขึ้น
2. ราคาเกิดการย่อมาที่ EMA 8
3. เมื่อเจอ Inside Bar ให้ลากเส้นแนวนอนที่ราคาสูงสุดของแท่งเทียนสีเขียว (แท่งแม่)
4. เปิดออร์เดอร์ Buy เมื่อเกิดแท่งเทียน Breakout ราคา High (ในรูปคือเส้นเหลืองบน)
5. ตั้ง Stop Loss ไว้ที่เส้น EMA 21
6. ตั้ง Take Profit ไว้ที่ RR 1:2 (หรือใช้ Trailing Stop ตามเส้น ema 8 ก็ได้ครับ)
เงื่อนไขการเทรดหน้า Sell
1. EMA 8 ตัดกับ EMA 21 ในทิศทางขาลง
2. ราคากลับไปที่ EMA 8
3. เมื่อเจอ Inside Bar ให้ลากเส้นแนวนอนที่ราคาต่ำสุดของแท่งเทียนสีแดง (แท่งแม่) (ในรูปคือเส้นเหลืองล่าง)
4. เปิดออร์เดอร์ Sell เมื่อเกิดแท่งเทียน Breakout ราคา Low (ในรูปคือเส้นเหลืองล่าง)
5. ตั้ง stop loss ไว้ที่เส้น EMA 21
6. ตั้ง Take Profit ไว้ที่ RR 1:2 (หรือใช้ Trailing Stop ตามเส้น ema 8)
สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเทรดด้วยระบบ MA Crossover Pullback
- ดูภาพรวมตลาดก่อนเทรดเสมอ ควรดูไทม์เฟรมใหญ่ในการวิเคราะห์ภาพรวมตลาด ก่อนจะหาโอกาสเข้าเทรดในไทม์เฟรมที่เล็กกว่า
- ดูแนวรับแนว/ต้านก่อนเทรดเสมอ หากตลาดอยู่ในกรอบแนวรับแนวต้านแสดงว่าตลาดอยู่ในช่วงของ Sideway ซึ่งเป็นจุดอ่อนของระบบนี้
- เข้าเทรดเมื่อราคา Pullback มาที่เส้น EMA เท่านั้น ควรเทรดต่อเมื่อราคาเกิด Price Action กลับตัวบริเวณใกล้กับเส้น EMA เท่านั้น ถ้าราคายังไม่เกิดการย่อหรือพักตัวแล้วเข้าเทรด จะทำให้ได้ราคาที่ไม่ดีและมีโอกาสขาดทุน
- ไม่เทรดแท่งเทียนที่มีความใหญ่ยาว หากเกิดแท่งเทียนที่มีความใหญ่และความยาวมีไส้เทียนน้อย ในช่วงที่ตลาดเกิดการกลับตัว จะทำให้มีความเสี่ยงสูง
- หลีกเลี่ยงเทรนด์ที่เกิดขึ้นนานแล้ว ถ้าเจอกราฟที่เกิดเป็นเทรนด์มาระยะหนึ่งแล้ว มีโอกาสที่เทรนด์นั้นจะสิ้นสุดลง ควรหาโอกาสจากการเกิดเทรนด์ใหม่
ข้อดีและข้อเสียของระบบเทรด
ข้อดีของระบบเทรด
- เป็นระบบที่เทรดง่าย หาจุดเข้าเทรดได้บ่อยและได้ราคาที่ดี
- มีโอกาสทำกำไรสูงในตลาดที่เป็นเทรนด์
- มีความเสี่ยงต่ำ
ข้อเสียของระบบเทรด
- แพ้ตลาด Side Way
- ไม่เหมาะกับคนที่ยังไม่สามารถอ่าน Price Action ได้เก่ง
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานระบบเทรด MA Crossover Pullback
- สามารถปรับค่าของเส้น EMA ได้ แต่ไม่ควรปรับค่ามากเกินไป เพราะจะทำให้โอกาสเทรดน้อยลงและทำให้เส้น EMA ตอบสนองต่อราคาช้าลง
- สำหรับใครที่จะใช้กับไทม์เฟรมเล็ก ต้องฝึกดูภาพรวมของตลาดให้คล่อง
- มือใหม่ที่ยังไม่เก่งการดู Price Action สามารถใช้อินดิเคเตอร์ 2 ตัวนี้ได้ “Two-Bar Reversal with Alert” และ “Inside Bar” เป็นตัวช่วยในการดู Price Action (เป็นอินดิเคเตอร์ใน TradingView)
- ควรนำกลยุทธ์ไป Back test และ Forward test ก่อนใช้งานจริง
ทีมงาน: forexthai.in.th