Inside Bar คือหนึ่งใน Set up การเทรดโดยใช้ Price action ที่เป็นที่นิยมของเหล่าเทรดเดอร์สาย Price Action เนื่องด้วยโอกาสการทำกำไรที่สามารถเกิดขึ้นได้สูง สามารถสร้างอัตราส่วนผลตอบแทน และความเสี่ยงที่ดี Risk reward ratio ที่ดีมีช่วง Stop loss ที่สั้นกว่ารูปแบบกราฟอื่นๆ หรือ Set up อื่นๆ และยิ่งถ้าใช้ประกอบกับสัญญาณอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์โดยใช้เทรนด์ หรือการใช้เครื่องมือในการวัดเทรนด์ เช่น Equidistance channel ร่วมด้วย หรือตัวอย่าง การใช้แนวรับแนวต้าน เช่น เครื่องมือ Fibonacci Level ทำให้ยิ่งทวีความสามารถของมันได้อย่างดีขึ้นไปอีก

หน้าตาของInside Bar
Inside Bar คือ แท่งเทียนที่ลงเล็กลงกว่าแท่งก่อนหน้า (หรือที่เรียกว่า Mother Bar) และถูกปกคลุมส่วนของแท่งเทียนทั้งหมด
ถ้าจะให้อธิบายในรายละเอียด Inside Bar คือ แท่งเทียนที่ลงเล็กลงกว่าแท่งก่อนหน้า (หรือที่เรียกว่า Mother Bar) ตามภาพตัวอย่างข้างบน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของราคา โดยที่รวมทั้งเรื่องของไส้เทียน ที่จะต้องสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า และที่สำคัญมันอาจจะมีหลายรูปแบบ เช่น การนับจำนวนแท่งที่ใช้วิเคราะห์ inside Bar โดยที่อาจจะมี 2 แท่ง 3 แท่ง หรือ 4 แท่งเป็นต้น
ข้อมูลที่สำคัญสำหรับ Inside Bar คือ จะต้องมีลักษณะแท่งที่เป็น Inside Bar นั้นต้องมี Low ที่สูงกว่า และ High ต่ำกว่า แท่งเทียนที่เป็น Mother bar
การเทรด Inside Bar โดยทั่วไป
การเทรดลักษณะ Breakout คือ จะเข้าเทรดก็ต่อเมื่อแท่งเทียนเกิดรูปแบบ Inside Bar และแท่งเทียนถัดจาก Inside bar นั้นเกิดการ Breakout ในทางใดทางหนึ่ง โดยใช้ High หรือ Low ของแท่ง Mother Bar เป็นจังหวะ Long หรือ Short
– Long ตาม เมื่อราคาทะลุ High ของ Mother ขึ้น (ใช้คำสั่ง Buy stop order)
– Short ตาม เมื่อราคาทะลุ Low ของ Mother ลง (ใช้คำสั่ง Sell stop order)

ความหมายของ Inside bar
Inside bar เหมือนเป็นสัญญาณว่า ราคากำลังอยู่ในช่วงที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปในทางไหน แกว่งตัวแคบๆ รอการเลือกทาง การเกิดสัญญาณลักษณะนี้จะทำให้เกิดการกระจุกตัวของราคา และเกิดการสะสมของ
สามารถตีความได้ 2 อย่าง คือ 1) การสะสมของราคา เมื่อรายใหญ่กำลังเก็บของในช่วงนี้ทำให้ราคาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าแท่งก่อนหน้า 2) การดึงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ขายคิดว่าถูกเกินไปไม่อยากขาย ขณะที่ผู้ซื้อก็ไม่อยากซื้อเพราะคิดว่าแพง ราคาการซื้อขายจึงไม่ได้เกิดขึ้น
การเทรด Inside Bar จึงค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการใช้การเทรดแบบ Break Out เนื่องจากลักษณะการกระจุกตัวแบบที่กล่าวไป จะเกิดจากการดึงกันของราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการสะสมของของรายใหญ่ทำให้เกิดรูปลักษณ์ราคาดังกล่าว
Inside bar Set up
โดยทั่วไปการเทรด Inside bar มีอยู่ 2 แบบ คือ
- Continuation หรือ รูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง
- Reversal หรือ การกลับตัว
Continuation – เทรดตามแนวโน้ม

จากกราฟข้างต้น ซึ่งเห็นได้ว่าแท่งเทียนฟอร์ตัวรูปแบบ Inside bar แล้วเกิดการไปต่อของราคาตามแนวโน้ม คือ ราคาหยุดพัก ณ จุดที่เกิด inside Bar แล้วเคลื่อนไหวไปต่อเมื่อเกิดการ Break กรอบของราคาของ inside Bar ออกไป ในภาพ มีแค่ช่วงขวาสุดขวากราฟที่เป็นการกลับตัวของราคา เนื่องจากเป็นราคาอ่อนตัวลงมาทดสอบแนวรับ Low เดิม ซึ่งเป็นลักษณะการเทรด Reversal ที่จะกล่าวในส่วนถัดไป
Reversal – หาจุดกลับตัว

สำหรับกราฟข้างต้นเป็นตัวอย่างการใช้ Inside bar ในการหาจุดกลับตัว คือ Inside Bar ที่ทำให้เกิดการดีดกลับของราคาไปอีกทิศทางหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าเราจะเห็นว่าเจ้ามือจะเก็บของขนาดไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถที่จะคาดเดาทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาได้ ถ้ามีคนคาดเดาได้หรือรู้อนาคต จึงไม่จำเป็นต้องมาเทรดแล้วครับ มีวิธีหาเงินอื่นได้อีกมากมายมาก สำหรับคนที่อ่านอนาคตได้ไปดูหนังเรื่อง Next 1 อธิบายไว้อย่างชัดเจนครับ
อย่างไรก็ตาม นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่าง จะให้ดีเราควรสามารถประยุกต์ใช้มันกับรูปแบบอื่นๆ เช่น การใช้กับ Fibonnaci Level การใช้กับ Trend Line การใช้กับ Parabolic Sar หรือ indicator ประเภทอื่นๆ (ดูเพิ่มเติมการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ คลิ๊ก…) เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และโอกาสในการวิเคราะห์ถูก ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำ Set up นี้ไปประยุกต์ใช้การรูปแบบการเทรดต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิในการเทรดให้สูงที่สุด รับรองว่ารูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์กับเทรดเดอร์อย่างยิ่ง

Editor / web master
Nakrob Seareechon เป็น CEO ของเว็บไซต์ forexthai.in.th และเป็นนักเขียนร่วม ในบทความภายในเว็บไซต์ เข้าสู่ตลาด Forex ตั้งแต่ปี 2014 ผู้มีชีวิตที่โลดโผน จากลูกเกษตรกรในชนบท จบ ป.โท สายสุขภาพ อดีตข้าราชการ มีความฝันที่จะ มีรายได้อย่างยั่งยืนเฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาทภายใน 10 ปี (2029)
ทีมงาน: forexthai.in.th