Forexthai.in.th ย่อให้
- GBP/USD เป็นคู่สกุลเงินยอดนิยมในตลาด Forex มีสภาพคล่องสูงและมีความผันผวนมาก
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเทรด GBP/USD คือช่วงที่ตลาดลอนดอนและนิวยอร์กเปิดพร้อมกัน จะมีปริมาณการซื้อขายสูง
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อ GBP/USD ได้แก่ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ, สถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายการเงินของอังกฤษและสหรัฐฯ
- ควรระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยง เนื่องจาก GBP/USD มีความผันผวนสูง และอาจมีการเคลื่อนไหวรุนแรงในช่วงประกาศข่าวสำคัญ
คู่เงิน GBP/USD (GU) เป็นคู่เงินหลักอีกตัว ที่เทรดเดอร์ให้ความสนใจกันมาก สาเหตุหลัก ๆ มาจาก
-
- เรื่องของ Volatility (ความผันผวน) ที่เกิดในแต่ละวัน
- spread น้อยตอนตลาดเปิด
- ปริมาณการซื้อขายในแต่ละวัน ค่อนข้างเยอะ
แม้ว่าตลาดจะเปิดให้เทรด 5 วัน 24 ชั่วโมง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกชั่วโมงน่าเทรด เพราะการเปิดเทรดในแต่ละช่วงเวลา ก็จะมีความผันผวนต่างกันออกไป
ก่อนที่จะเทรดจำเป็นต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับค่าเงินนั้น ๆ และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งคู่ GBP/USD เกี่ยวข้องกับค่าเงินอังกฤษ GBP (ปอนด์) และ USD (ดอลลาร์) ของอเมริกา ที่ถือว่าเป็นค่าเงินหลักๆ ของตลาดการเงินโลก ดังนั้นควรรู้ว่า “อะไรก็ตามที่กระทบต่อค่าเงินทั้งสอง” ก็จะ “กระทบต่อคู่เงิน GBP/USD ด้วย”
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
GBP/USD กับช่วงตลาดเปิด
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนเทรดคู่เงินไหนๆก็ตามคือ “ช่วงตลาดที่ค่าเงินนั้นเปิด” การเทรดจำเป็นต้องรู้เรื่อง Volatility (ความผันผวน) และต้องรู้ว่าตลาดที่เกี่ยวกับค่าเงินที่เทรดอยู่ช่วงไหน อย่างคู่เงิน GU(GBPUSD) GBP เป็นค่าเงินจากตลาดยุโรป ก็ไปดูว่าตลาดยุโรปเปิดและปิดตอนไหน และ USD ก็ดูว่าตลาด New York เปิดและปิดตอนไหน
อย่างภาพด้านล่าง ช่วงตลาดในรูปจะเป็นข้อมูลจาก forexfactory ที่มีกำหนดเวลาเป็นเวลาไทย
- London หรือช่วงตลาดยุโรป เริ่มที่เวลา 14.00-23.00
- ตลาดอเมริกา หรือ NY เริ่มที่เวลา 19.00-04.00 ของอีกวัน
- และช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกัน หรือที่ตลาดทั้งสองเปิดอยู่คือช่วง 19.00-23.00
ดูจากชาร์ตเปล่าที่แสดงพร้อมกับใส่ market sessions เข้าไปตรงกับเวลาที่กำหนดใน forexfactory จะเห็นว่า เมื่อราคาวิ่งตอนไหน จะมีแท่งเทียนยาว ๆ เกิดขึ้น
ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเทรด GBP/USD
เมื่อเข้าใจช่วงตลาดเปิดที่เกี่ยวกับคู่เงินที่เทรด ในที่นี้คือ GU เกี่ยวกับทั้งสองตลาดหลัก ๆ ของการเงินโลก คือ
- ค่าเงินอังกฤษ GBP อยู่ในช่วงตลาดยุโรป (14.00-23.00 เวลาประเทศไทย)
- ตลาดอเมริกา 19.00-04.00
เมื่อคุณเทรดเป็นประจำ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ความเร็วในการเคลื่อนไหวของราคา นั่นคือผลของความผันผวนที่เกิดขึ้นตอนที่ช่วงตลาดเปิด
สิ่งที่ชาร์ตบอกคือ “เรื่องความผันผวนที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเปิดตลาดเทียบกับช่วงที่ตลาดปิด” นั่นคือช่วง Tokyo (07.00-14.00) แต่พอตลาดยุโรปเปิด จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นชัดเจน เพราะมีความผันผวนของราคาที่มาจากตลาดยุโรปมากกว่า
เทรดเดอร์บางคน เทรดเพราะความต่างของช่วงเวลาที่เปิดตลาด เรียกว่า “London Breakout” เพราะช่วงที่ตลาดอเมริกาเปิด จะมีความผันผวนของราคามากขึ้น ก็เลยกลายเป็นว่า “ช่วงที่ตลาดทั้ง London และ New York เปิด” หรือ “ช่วงเวลาทับซ้อนกัน” เป็นช่วงเวลาที่น่าเทรดที่สุด
เคล็ดลับการเทรด GBP/USD เครดิต By CAT Invest Focus นาทีที่ 1:52-7:02
สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน GBP/USD
นอกจากเรื่องช่วงเวลาของตลาดที่ต้องดูเป็นตัวแรก สำหรับค่าเงิน GU แล้ว ยังต้องดูด้วยว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ราคาขึ้น หรือลงแรง ๆ ซึ่งหลัก ๆ ก็เหมือนการเทรดค่าเงินทั่ว ๆ ไป เช่น
- เรื่องของข้อมูลเศรษฐกิจ
- ข่าวการเมือง
- เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินนั้น (GU เกี่ยวข้องกับค่าเงินอังกฤษ (GBP) และค่าเงินดอลลาร์ (USD) ของสหรัฐฯ ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อมูลที่มาจาก 2 ค่าเงินนี้เป็นหลัก)
การดูข่าวพวกนี้ เราสามารถดูได้จากเว็บ forexfactory ที่มีรายการข่าวแต่ละวันที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินนั้นโดยตรง และยังให้ข้อมูลเรื่องของผลกระทบที่มีต่อค่าเงินนั้น ๆ ในการเทรดด้วย หรือคุณอาจจะหาแหล่งที่มีการวิเคราะห์ประกอบข่าว เช่นจาก investing.com หรือ forexlive.com หรือเว็บอื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีเยอะมาก
การเทรด GBP/USD ในช่วงข่าว
เพราะตลาด Forex นั้นเป็นตลาดใหญ่ โบรกเกอร์ต้องการให้เกิดการเทรดเพื่อจะได้รายได้จาก trading transactions ทั้งข่าวและข้อมูลพื้นฐานส่งผลต่อคู่เงิน เช่น อาจจะส่งผลระยะสั้น หรือ ช่วงมีการประกาศมักจะเกิด High Volatility (ความผันผวนสูง) นอกจากนี้ยังส่งผลให้เทรดเดอร์มีกลยุทธ์การเทรด ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
- การเทรดข่าวเก็บสั้น (scalping) เพราะช่วงข่าวจะมีความผันผวนสูง) ทำให้การเทรดจะเป็นแบบ เน้นเข้าเร็วออกเร็ว หรือ เทรดจากการอ่านข้อมูล
- การเทรดระยะยาว (Long Term Trading) คือถือ Oder เป็นระยะเวลานาน เป็นวัน เป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือน จากการดูข้อมูลตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่เงินนั้น
อัตราดอกเบี้ย ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน GBP/USD อย่างไร ?
อัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อค่าเงินและคู่สกุลเงินในตลาด Forex โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคู่ GBP/USD ที่เป็นหนึ่งในคู่สกุลเงินหลักที่ถูกซื้อขายเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
1. ความหมายและบทบาทของอัตราดอกเบี้ย: อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหลักที่ธนาคารกลางใช้เพื่อควบคุมเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบต่อการลงทุน, การบริโภค และเงินเฟ้อ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อค่าเงินทั้งสิ้น
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อ GBP/USD:
- เมื่อธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินมักจะแข็งค่า เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินนั้นเพิ่มขึ้น
- ในทางตรงกันข้าม เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ค่าเงินมักจะอ่อนค่าลง
3. ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน: การประกาศตัวเลขต่างๆของธนาคารกลางสหราชอาณาจักร (Bank of England) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) มีอิทธิพลอย่างมากต่อ GBP/USD การประกาศนโยบายการเงินหรือการเพิ่มลดของอัตราดอกเบี้ย สามารถ “สร้างความเคลื่อนไหวของราคาในตลาดได้”
4. กระแสเงินทุนจะไหลเข้าสู่ผลตอบแทนที่มากกว่า:
- เมื่อธนาคารประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเงินปอนด์ GBP และธนาคารกลางของสหรัฐฯ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้กราฟคู่เงิน GBP/USD พุ่งขึ้น
- ในทางกลับกัน กราฟราคาจะวิ่งลง เมื่อดอกเบี้ยของ USD มากกว่า GBP
กลยุทธ์การเทรดคู่เงิน GBP/USD
กลยุทธ์การเทรด London Breakout
กลยุทธ์การเทรดก็จะต่างกันออกไป เมื่อเข้าใจช่วงตลาดเปิดและช่วงไหนที่มีความผันผวนมากสุด อย่างกลยุทธ์แรกที่ถือว่านิยมกันคือ “London Breakout”
- การเน้นเทรดตอนตลาด London เปิด 1-3 ชั่วโมงแรก
- เปรียบเทียบกับช่วงตลาดก่อน London เปิด กับช่วงที่ตลาดเปิดแล้ว
- ถ้าราคาเบรคไปทางไหน ก็จะเน้นเทรดทางนั้น เพราะถือว่า “พลังของแนวโน้มโดยรวมจะยังคงทิศทางนั้นอยู่”
- เมื่อราคาเกิด breakout เป็นหลักของวันนั้นๆ เทรนด์ที่เกิดขึ้น อาจส่งผลไปต่อถึงช่วงตลาดอเมริกาเปิดอีกด้วย เหตุผลหลักที่เทรดเดอร์นิยมเทรด London Breakout เป็นเพราะเรื่องของ volatility ที่เกิดพร้อมกับ price structure ในแต่ละวัน
การเทรด Demand/Supply ด้วยการหา Imbalance
การเทรดแบบ demand/supply เป็นการเทรดด้วยการ “แกะรอยว่าขาใหญ่เปิดเทรดตรงไหน” โดยเฉพาะช่วงตลาดเปิด เพราะ GBPUSD มักจะวิ่งแรงตอนนั้นพอดี สิ่งหนึ่งที่จะเห็นประจำ คือ “imbalance” ที่เกิดขึ้นระหว่างการสู้กันระหว่างออเดอร์ sell และ buy ในช่วงที่ 2
- imbalance มักเกิดตอนตลาดสองแห่งเปิดพร้อมกัน เช่น ลอนดอนกับนิวยอร์ก
- ส่วนมากจะเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ เรียกว่า impulsive move (ราคามักจะวิ่งเร็วและแรงไปทางใดทางหนึ่ง ในช่วงเวลาอันสั้น)
- จากนั้นราคาจะค่อยๆ ย้อนกลับมานิดหน่อย เรียกว่า Corrective move (ราคาค่อยๆเคลื่อนตัวไปหาราคาก่อนหน้า)
- สุดท้ายราคามักจะวิ่งต่อไปทางเดียวกับที่เกิด Impulsive move และวิ่งไปไกลมากด้วย เพราะนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาเทรด
ดังนั้น Base ของ demand/supply ที่เกิดในช่วงนี้ และภายในไม่กี่วัน จะทำให้มีโอกาสในการเกิด Breakout สูง หรือถ้าราคาทะลุจุด Demand/Supply เก่าๆ ที่เกิดช่วงนี้ ก็มีผลเหมือนกัน เพราะเป็นจุดที่นักลงทุนรายใหญ่สนใจ
จากภาพประกอบ จะเห็นว่า demand/supply หรือ swap level ที่เกิดขึ้นในช่วงตลาด Lodon และ New York โดยเฉพาะช่วงที่ 2 ที่ตลาดเปิดพร้อมกัน จะถือเป็นช่วงที่น่าเทรดที่สุดสำหรับคู่เงินนี้ เพราะมักเกิดจุด supply และ demand ที่สำคัญ และเมื่อราคากลับมาทดสอบจุดตรงนี้ในครั้งแรก จะถือเป็นจุดเข้าเทรดที่ดี
กลยุทธ์การเทรดด้วยการ Correlation
วิธีการเทรดด้วย Correlation (เทียบความสัมพันธ์ระหว่างกราฟที่เกี่ยวข้องกัน) ถือว่าเป็นการเทรดที่ง่าย เพราะ “เป็นการใช้ความสัมพันธ์ของค่าเงินที่เกิดขึ้นที่ชาร์ตอื่นมายืนยันกันเอง”
- การ correlaction จะนิยมใช้ในคู่ GU กับ Dollar Index
- เน้นการดู price structure ที่เป็น impulsive move (ราคาที่วิ่งเร็วและแรงไปทางใดทางหนึ่ง ในช่วงเวลาอันสั้น) เป็นหลัก เพราะบอกถึงการมีส่วนร่วมในการดันราคาไปทิศทางนั้นๆ ของรายใหญ่ โดยต้องเป็นลักษณะเดียวกันแต่ต่างทิศทางกัน
- Impulsive move ที่เป็นการยืนยัน ต้องมีการเอาชนะพื้นที่ตรงข้าม เห็นบาร์ยาวๆ ราคาสามารถปิดทางที่เกิด Impulsive move ได้ ไม่มีหางบาร์หรือมีน้อย และมีบาร์ไปทางเดียวกัน ยิ่งไม่มีการย่อตัวทับพื้นที่เดียวกันยิ่งดี
จากภาพ จะเห็นว่า Dollar Index และ GU ต่างยืนยันกันและกัน บอกว่า demand ที่เกิดขึ้นที่ GU เป็นการเข้าเทรดจริง
วิธีการ correlation อีกแบบคือ ใช้คู่เงินที่มีค่าเงินเดียวกันมาประกอบเพื่อเป็นการยืนยันกันเอง อย่างกรณีของ GBP/USD ด้วยการดูกราฟของ
- GBP/JPY
- EUR/GBP
- GBP/NZD
- GBP/CHF
- และ GBP/CAD
ประกอบกับ การดูที่ impulsive move ที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะเดียวกันหมด
* ก่อนที่ราคาจะย่อตัวลงมาจุดที่ตีเส้นแนวตั้ง แล้วเปิดเผยโอกาสการเทรดตามเทรนหรือตาม impulsive move ซึ่งการ correlation ในที่นี้เน้นไปที่การดูร่องรอยว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่จริงหรือเปล่า ด้วยการใช้ชาร์ตเปรียบเทียบชาร์ตนั่นเอง
ทำให้การเทรดง่ายขึ้นด้วย Trading Sessions indicator
หากเพื่อน ๆ ต้องการเทรดด้วยเทคนิค Break out โดยอ้างอิงเวลาจาก London session ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เราไปโหลด Indicator มาแล้วใช้งานมัน (คลิ๊กเพื่อโหลดฟรี) ซึ่งหลักการของ Indicator ตัวนี้เป็น “การตีเส้นเวลา Time Zone ต่าง ๆ” เช่น Tokyo session, London session, New York session เป็นต้น
วิธีการเทรดไม่ยากครับ เพียงทำตามขั้นตอนดังนี้
- ตีแนวรับ แนวต้าน โดยอิงราคาสูงสุด และ ต่ำสุด ในช่วง Time Zone ของ Tokyo session
- ตั้ง Pending Buy stop และ Sell stop เอาไว้ที่แนวรับ แนวต้าน โดยตั้ง Take profit สั้น ๆ และตั้ง Stop loss เอาไว้ต่ำกว่าแนวรับสำหรับไม้ buy ครับ
สรุป
การเทรดคู่เงิน GBP/USD นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น การดูข่าว การดูอัตราดอกเบี้ย แผนการเทรดนั้นมีความสำคัญมาก หากเราจะเทรดให้อยู่รอดในตลาดได้ ขั้นแรก “เราต้องรักษากำไรไว้ก่อน เมื่อเรารักษากำไรไว้ได้ระยะหนึ่งแล้ว ค่อยหาวิธีการทำกำไร”
เทรดเดอร์ต้องคำนึงถึงการจัดการเงินทุน และแผนการเข้า-ออก ออเดอร์เป็นหลัก การเทรดต้องดูโครงสร้างของราคาเป็นหลักด้วย เพื่อที่จะหาจุดเข้า และจุดออกได้อย่างแม่นยำ อินดิเคเตอร์เป็นเพียงผู้ช่วย ทำให้เราเทรดได้ดียิ่งขึ้น หากเราทำตามระบบ มีวินัย ในการเทรด ไม่โอเวอร์เทรดจนเกินไป เราจะเป็นผู้ชนะในที่สุด
ทีมงาน: forexthai.in.th