Gartley Pattern เป็นรูปแบบหนึ่งในทฤษฎี Harmonic Pattern ที่ถูกตั้งชื่อตามผู้ค้นพบนั่นก็คือ H.M Gartley ผู้เปิดเผยทฤษฎีเป็นครั้งแรก ในปี 1932 แต่จะยังไม่สมบูรณ์นัก

ก่อนที่ Scott Carney และ Larry Pesavento ซึ่งเป็นเพื่อรักกัน ได้ค้นพบแพทเทิร์นอื่น ๆ อีกหลายตัว และได้ทำให้ทฤษฎีมีความสมบูรณ์มากขึ้น ด้วยการกำหนดสัดส่วน Fibonacci เพื่อให้สามารถใช้ซ้ำ ๆ ให้เกิดมาตรฐาน

Gartley Pattern อาจารย์ใหญ่สาย Harmonic
Gartley Pattern อาจารย์ใหญ่สาย Harmonic

และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเพิ่มเติมรูปแบบแพทเทิร์นในยุคหลัง ๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ทุกแพทเทิร์นจะยังคงคอนเซ็ปต์เดิมนั่นก็คือ การเทรดที่มีความแม่นยำและ Risk Reward Ratio ที่สูง นับว่าเป็นจุดแข็งของการเทรดด้วยทฤษฎีนี้เลยก็ว่าได้

Gartley Pattern คืออะไร

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับการนำเอารูปสัตว์มาเปรียบเทียบกับกราฟ แต่รูปแบบนี้เป็นแพทเทิร์นที่ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ นับว่าเป็นต้นแบบของทฤษฎี Harmonic ก็ว่าได้ ก่อนที่จะถูกค้นพบแพทเทิร์นรูปแบบอื่น ๆ และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

ไม่เพียงแค่ค้นพบรูปแบบของกราฟที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีงานวิจัยรับรองมากมาย ไม่น้อยไปกว่าทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งที่มีความแม่นยำสูง เชื่อถือได้และสามารถใช้ได้จริง ปัจจุบันมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในทุก ๆ ตลาด โดยเฉพาะตลาด Forex เป็นที่นิยมอย่างมาก

เพราะเป็นตลาดที่มีความเป็นไซด์เวย์สูง เนื่องจากไม่มีประเทศใดที่ต้องการให้ค่าเงินอ่อนนาน ๆ หรือแข็งนาน ๆ จึงเกิดมาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้ค่าเงินอยู่ในจุดที่สมดุล ไม่อ่อนจนเกินไปหรือแข็งจนเกินไป จึงเหมาะสมกับการเทรด Forex ด้วยทฤษฎีนี้

การพัฒนา คือการทำให้ดีขึ้นจากจุดที่ดีอยู่แล้ว

ทำไมจะต้องเทรดด้วย Gartley

ถ้าจะพูดถึงทฤษฎี Harmonic Pattern ก็คงจะมองข้างรูปแบบของ Gartley ไปไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นได้บ่อย และมีความแม่นยำสูง ตามทฤษฎีที่บอกไว้ มีความแม่นยำสูงถึง 72% แต่ด้วยลักษณะที่ขาสั้น และพักตัวไม่เลยหัว แม้จะระยะทำกำไรแคบกว่าทุก ๆ แพทเทิร์น แต่ก็ยังมีคง RR ในสัดส่วนที่น่าสนใจ

ดังนั้น นับว่าเป็นแพทเทิร์นที่มีความสำคัญไม่น้อย เทรดเดอร์ในตลาด Forex ควรค่าแก่การเรียนนรู้และจดจำ เพื่อนำไปใช้เพิ่มโอกาส เพิ่มผลลัพธ์ให้พอร์ตได้จริง

ทำแบบเดิมผลลัพธ์แบบเดิม ทำแบบใหม่อาจจะได้ผลลัพธ์แบบใหม่

การสร้างรูปแบบ Bullish Gartley

รูปแบบ Bullish Gartley
การสร้างรูปแบบ Bullish Gartley

สัญญาณ Buy ด้วยรูปแบบ Gartley สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงพักตัว หรือการกลับตัวได้เช่นเดียวกัน การฟอร์มตัวสร้างรูปแบบ โดย AB จะพักตัวที่ 61.8% ของ XA และ BC จะพักตัวอย่างน้อย 1 ใน 3 ของ AB และไม่เกินหัว A

PRZ จะอยู่ที่ 127-161.8% ของจุด BC และ 78.6 ของ XA นั่นคือจุด D

Trade Setup ด้วย Bullish Gartley

การเทรดด้วย Bullish Gartley จะเห็นได้ว่า เมื่อเข้าออเดอร์เรียบร้อย จากนั้นราคาได้เคลื่อนที่มาถึง TP1 และ TP2 ราคาย้อนกลับไปยังทิศทางเดิม ถ้ามองในรูปแบบอื่น ๆ ก็คือ เทรดสวนเทรนด์ แต่การเข้าเทรดในครั้งนี้เป็นการเข้าเทรดตามทฤษฎีที่มีรูปแบบแพทเทิร์น ถือว่าเป็นการทำกำไรตามระบบ

Trade Setup ด้วย Bullish Gartley
Trade Setup ด้วย Bullish Gartley

 

  • จุดเข้า Buy PRZ จะอยู่ที่ 127-161.8% ของจุด BC และ 78.6 ของ XA
  • Stop Loss เลย X ไป 5-10 pip
  • Target TP1 ที่ 38.2 ของ AD และ TP2 ที่ 61.8 ของ AD

 

การสร้างรูปแบบ Bearish Gartley

รูปแบบ Bearish Gartley
การสร้างรูปแบบ Bearish Gartley

 

สัญญาณ Sell ด้วยรูปแบบ Gartley สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงพักตัว หรือการกลับตัวได้เช่นเดียวกัน การฟอร์มตัวสร้างรูปแบบ โดย AB จะพักตัวที่ 61.8% ของ XA และ BC จะพักตัวอย่างน้อย 1 ใน 3 ของ AB และไม่เกินหัว A

PRZ จะอยู่ที่ 127-161.8% ของจุด BC และ 78.6 ของ XA นั่นคือจุด D

 

Trade Setup ด้วย Bearish Gartley

การเทรดด้วย Bearish Gartley เช่นกัน จะสังเกตได้ว่ากราฟอาจจะมีความเป็นไซด์เวย์กว้าง ๆ จับทิศจับทางอะไรไม่ได้ และเทรดเดอร์ส่วนใหญ่คงจะหลีกเลี่ยงสภาวะตลาดเช่นนี้ แต่สำหรับแพทเทิร์น Gartley คือจังหวะในการเข้าทำกำไรด้วย RR ที่สูง

และราคาได้เข้าไปชน TP1 และ TP2 ก่อนทีจะย้อนกลับไปยังทิศทางหนึ่ง

Trade Setup ด้วย Bearish Gartley
Trade Setup ด้วย Bearish Gartley

 

  • จุดเข้า Sell PRZ จะอยู่ที่ 127-161.8% ของจุด BC และ 78.6 ของ XA
  • Stop Loss เลย X ไป 5-10 pip
  • Target TP1 ที่ 38.2 ของ AD และ TP2 ที่ 61.8 ของ AD

 

ประโยชน์และข้อควรระวังของรูปแบบ Gartley

  • เกิดขึ้นได้บ่อย ใช้ได้ดีกับตลาด Forex สามารถเทรดได้ทุกคู่สกุลเงิน
  • มีจุดเข้า จุดออก และตัดขาดทุน ที่เทรดเดอร์ไม่ต้องคิดหรือตีความให้สับสน เพราะรูปแบบมาพร้อมกับระบบในการเข้าเทรดที่ถูกต้องเพื่อความแม่นยำ
  • เป็นรูปแบบที่ RR สูง แม้จะเป้าทำกำไรแคบกว่าแพทเทิร์นอื่น ๆ

ข้อควรระวังของ Gartley Pattern

  • ในตลาดจริง ล้วนแตกต่างจากทฤษฎี จุดเข้าเทรดก็เช่นกัน กราฟอาจจะมีการแกว่างตัว อาจจะทำให้ได้ราคาที่ไม่ดี ดังนั้นควรคำนึงถึง RR ก่อนเข้าเทรด ถ้าดูแล้วว่าไม่คุ้มก็ไม่ควรเข้าเทรด เพราะการเทรดที่ดี ไม่จำเป็นต้องเข้าทุกครั้งไป
  • อาจจะสับสนสักเล็กน้อยสำหรับมือใหม่ แต่ไม่ยากเกินที่จะทำความเข้าใจได้
  • ใช้สัญญาณอื่น ๆ ในการคอนเฟิร์ม เช่น รูปแบบแท่งเทียนกลับตัว

ทำแบบเดิม แต่คาดหวังผลลัพธ์แบบใหม่ นั่นเสียสติ

สรุป

พูดถึง Harmonic Pattern คงไม่มีใครไม่รู้จัก Gartley Pattern แน่นอนว่าไม่มีรูปแบบใดที่จะใช้งานได้ดีในทุกสภาวะตลาด และเทรดเดอร์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเทรดให้ได้ในทุกสภาวะตลาดเช่นกัน แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโอกาสในการเทรด ก็จะต้องคว้ามันมาให้ได้

แต่ละแพทเทิร์นก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งในโอกาสที่ให้เทรดเดอร์คว้าเอากำไร สาเหตุที่หลายคนล้มเหลว เพราะใช้เครื่องมือและสถานการณ์ที่เหมาะสม การออกรบเพื่อให้มีประสิทธิภาพทางการทหารสูงสุดนั่นก็คือ การใช้ยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสม

ในเมื่อเลือกที่จะใช้ Harmonic แล้วก็จะต้องเชื่อมัน และนำไปใช้ให้อย่างเหมาะสมเช่นกัน

 ไม่ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับกราฟ รู้เพียงจุดที่ทำกำไรได้ก็พอ

 

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments