Forexthai.in.th ย่อให้

  • Forex Analytics คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่เงินในตลาด Forex เพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต
  • การวิเคราะห์ Forex มี 2 ประเภทหลักและอีก 1 ประเภทเสริม คือ 1) วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน 2) วิเคราะห์ทางเทคนิค 3) วิเคราะห์จิตวิทยาเทรดเดอร์
  • โดยเราสามารถหาข้อมูล Forex Analytics ได้จาก Forex Factory, บทวิเคราะห์ตามโบรกเกอร์ Forex, บทความสอนใช้อินดิเคเตอร์เพื่อวิเคราะห์
  • ความสำคัญของการมี Forex Analytics คือ ตัดสินใจซื้อขายได้อย่างมีเหตุผล, เลือกจังหวะเข้าออกออเดอร์แม่นยำ, ประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการความเสี่ยง

Forex Analytics

มีคำศัพท์หลายคำมากครับในโลกของการเทรด Forex ที่เทรดเดอร์จำเป็นต้องรู้เพื่อจะได้เข้าใจการเทรดมากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในคำศัพท์ที่เชื่อว่าจะได้ยินบ่อยๆ ก็คือ Forex Analytics หรือ การวิเคราะห์ Forex เรามาดูกันว่าคำนี้มมันมีความหมายและมุมมองต่อการเทรด Forex ยังไงบ้าง?


Forex Analytics คืออะไร?

  • Forex Analytics ก็คือการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคู่เงินในตลาด Forex หรือสินทรัพย์ที่เราเทรด
  • เป้าหมายหลักก็คือเพื่อคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวขึ้น (Uptrend) ลง (Downtrend) หรือเคลื่อนที่ในกรอบ Sideways
  • หากคาดการณ์ทิศทางของราคาได้ เราก็จะมีโอกาสในการเทรดชนะในแต่ละครั้งได้เช่นกัน และยัง…
    • ตัดสินใจซื้อขายได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นเพราะเราวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูล
    • เลือกจังหวะในการเข้าออกออเดอร์ได้แม่นยำ
    • เทรดเดอร์สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนการจัดการความเสี่ยงได้
ประโยชน์ของ Forex Analytics
เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สำหรับการเทรด Forex เนื่องจากในตลาด Forex การเคลื่อนที่ของราคาต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ อย่างมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มที่ราคาจะไปต่อ

ประเภทของ Forex Analytics

การวิเคราะห์ Forex นั้นไม่ได้มีรูปแบบเดียว เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์แนวราคาจากข้อมูลที่หลากหลายได้ ซึ่งในวงการ forex เราจำแนกออกมาได้หลักๆ คือ 2 แบบ แต่ทีมงานขอเสริมอีก 1 แบบพิเศษ ที่คนเริ่มนิยมใช้กัน

1. Fundamental Analysis = การวิเคราะห์พื้นฐาน

  • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental Analysis ก็คือการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจหรือปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อคู่สกุลเงิน Forex เช่น
    • อัตราดอกเบี้ย
    • การเติบโตทางเศรษฐกิจ
    • การว่างงาน
    • เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองต่างๆ
  • ข้อดีของการวิเคราะห์แบบปัจจัยพื้นฐานคือ เทรดเดอร์จะเข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจและแนวโน้มระยะยาวของค่าเงิน
  • แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่อาจจะไม่แม่นยำในการเทรดระยะสั้นเพราะบางครั้งกราฟราคาก็วิ่งไม่สัมพันธ์กับข่าวเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือหลักวิเคราะห์สากลทั้งหุ้น, Forex, Crypto ต่างก็มีหลักการวิเคราะห์นี้อยู่ โดยจะเน้นศึกษาข้อมูลที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาของสินทรัพย์นั้นเคลื่อนที่

2. Technical Analysis = การวิเคราะห์ทางเทคนิค

  • ต่อมาคือการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ Technical Analysis มันคือการวิเคราะห์รูปแบบกราฟในอดีต รูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาในอดีต รวมถึงการใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิค (Indicators) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต
  • ข้อดีของการวิเคราะห์แบบเทคนิคคือช่วยเทรดเดอร์ในการจับจังหวะเข้าออกออเดอร์ได้ค่อนข้างแม่นยำ (หากวิเคราะห์เป็น)
  • ข้อจำกัดของมันคือ คนที่จะใช้แล้วเห็นผลได้ต้องมีความรู้ ความชำนาญพอสมควรและอินดิเคเตอร์ในโลกนี้มันมีเยอะมากๆ ต้องเลือกใช้ให้ถูก
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นหลักการวิเคราะห์สำหรับเทรดเดอร์ทุกประเภท (หุ้น, Forex, Crypto) โดยจะเน้นการใช้อินดิเคเตอร์และเทคนิคการอ่าน-ตีความกราฟ/แท่งเทียน เพื่อคาดการณ์ราคาในอนาคต

3. Sentiment Analysis* = การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยาตลาด

  • ข้อนี้คือข้อที่ทางทีมงาน forexthai เสริมเข้ามาครับ เพราะเห็นว่าการวิเคราะห์ในมุมนี้มีความสำคัญมากเช่นกันคือการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นตลาด หรือ Sentiment Analysis ซึ่งในการวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยาครับ
  • ซึ่งเราจะศึกษาอารมณ์และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อคู่เงินนั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขายของเรา
  • เครื่องมือที่จะใช้ในการวิเคราะห์ในรูปแบบนี้จะออกแนวผสมกันระหว่าง 2 ข้อด้านบนครับ แต่จะเน้นไปที่ความคิดเห็นของเทรดเดอร์คนอื่นๆ ที่มีต่อคู่สกุลเงิน เราอาจะต้องใช้พวก
    • สื่อโซเชียล/ฟอรัม ความคิดเห็นของเทรดเดอร์
    • Sentiment Index หรือ ดัชนีความเชื่อมั่น ซึ่งบางโบรกเกอร์มีข้อมูลประเภทนี้อยู่ เช่น LiteFinance
    • อินดิเคเตอร์บางตัวที่บ่งบอกจิตวิทยาของเทรดเดอร์เช่น Fibonacci
Sentiment Analysis
Sentiment Analysis เป็นการวิเคราะห์พิเศษที่ทีมงาน forexthai เพิ่มขึ้นมาเพราะเห็นว่ามันค่อนข้างสำคัญในการเทรดปัจจุบัน ที่ต้องมีเรื่องของจิตวิทยา/ดัชนีความเชื่อมั่นของเทรดเดอร์มาเป็นข้อมูลวิเคราะห์ด้วย

ข้อมูล Forex Analytics หาได้จากที่ไหน?

ในเมื่อเรารู้แล้วว่าการวิเคราะห์ Forex ในคู่เงินต่างๆ นั้นมีรูปแบบไหนบ้างและเทรดเดอร์บางคนก็คงจะถนัดการวิเคราะห์ในรูปแบบที่แตกต่าง คำถามต่อมาคือเราจะหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์จากที่ไหนได้บ้าง

Forex Factory

  • หากเราต้องการข้อมูลพวกปัจจัยพื้นฐานของคู่สกุลเงิน เทรดเดอร์เกือบทุกคนจะเลือกใช้ Forex Factory อันที่จริงโบรกเกอร์ต่างๆ หรือเว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจก็มีข้อมูลเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่เทรดเดอร์ยังนิยมใช้ Forex Factory มากกว่า
  • Forex Factory มันคือเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวและอัพเดทตัวเลขเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ หากมีข่าวสำคัญออกมาเทรดเดอร์สามารถเข้ามาดูแบบทันที เพื่อเอาไปวิเคราะห์ต่อได้ว่าสกลุงเนิจะมีแนวโน้มยังไง
  • และ Forex Factory ยังมีฟีเจอร์ปฏิทินเศรษฐกิจ เราสามารถเลือกดูข้อมูลเฉพาะที่เราสนใจได้และยังตั้งแจ้งเตือนได้หากมีการประกาศข่าวสำคัญ
หน้าตาเว็บไซต์ Forex Factory
หน้าตาเว็บไซต์ Forex Factory เว็บข้อมูลเศรษฐกิจยอดนิยมของเทรดเดอร์ที่นิยมเข้ามาดูตัวเลขเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต่อไปเว็บข้อมูลเศรษฐกิจยอดนิยมของเทรดเดอร์ที่นิยมเข้ามาดูตัวเลขเศรษฐกิจแบบเรียลไทม์ เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต่อไป

บทความวิเคราะห์

  • หากเทรดเดอร์สังเกตให้ดีจะเห็นว่าบางโบรกเกอร์จะมีเมนูที่ชื่อ “การศึกษา/การวิเคราะห์” อะไรทำนองนั้น ซึ่งมันจะรวบรวมบทวิเคราะห์จากกูรูของโบรกเกอร์ต่อแนวโน้มของคู่เงินนั้นๆ
  • ซึ่งบทวิเคราะห์ก็มีทั้งวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน พวกข่าวเศรษฐกิจต่างๆ บางบทความก็วิเคราะห์แบบเทคนิคโดยใช้อินดิเคเตอร์ แนวรับ-แนวต้าน ซึ่งเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ยังใช้อินดิเคเตอร์ไม่คล่อง
บทวิเคราะห์คู่เงิน EURUSD
ตัวอย่างบทวิเคราะห์คู่เงิน EURUSD จากโบรกเกอร์ FBS ซึ่งในรูปภาพจะเป็นบทวิเคราะห์เชิงเทคนิค มีการใช้อินดิเคเตอร์พื้นฐานอย่างเส้น Moving Average (MA)

อินดิเคเตอร์ในแพลตฟอร์มเทรด

  • เครื่องมือในการวิเคราะห์แนวโน้มราคานั้นมันอยู่ติดตัวกับเรามาโดยตลอด เพราะในแพลตฟอร์มเทรดหลักๆ เช่น MT4 หรือ MT5 จะมีอินดิเคเตอร์ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว
  • ภายในแพลตฟอร์มจะมีอินดิเคเตอร์ให้เราเลือกใช้มากมายโดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ก็มีอินดิเคเตอร์ที่วางขายบน MQL5 เป็นอินดิเคเตอร์ที่สร้างโดยเทรดเดอร์อาจจะมีวิธีใช้ที่ยากขึ้นไปอีกขึ้นแต่แม่นยำมากกว่า
  • โดยพื้นฐานแล้วหากเทรดเดอร์ที่ยังไม่ถนัดจะใช้อินดิเคเตอร์ที่ซับซ้อนแนะนำว่าใช้พวกพื้นฐานอย่าง Moving Average หรือพวก Volume การเทรด หรือหาอ่านบทความสอนใช้อินดิเคเตอร์จากเว็บอย่าง Forexthai, Thai Broker Forex ก็ได้ครับ
บทความสอนใช้อินดิเคเตอร์
หากเทรดเดอร์ยังไม่มีความรู้ในการใช้งานอินดิเคเตอร์ฟรีบนแพลตฟอร์มเทรดสำหรับวิเคราะห์ทางเทคนิค สามารถหาอ่านบทความจากเว็บไวต์ที่มีเนื้อหาสอนใช้อินดิเคเตอร์ เช่นตัวอย่างในภาพคือเว็บ Thai Broker Forex เป็นต้น

วิดีโอเกี่ยวกับ Forex Analytics

วิธีการวิเคราะห์ Forex อย่างง่าย เครดิต By The Trading Geek Focus นาทีที่ 0:48-12:22

The Trading Geek ยูทูปเบอร์+เทรดเดอร์ มาแนะนำวิธีการวิเคราะห์ Forex อย่างง่ายที่ตัวเขาใช้เป็นประจำทุกวัน โดยเขาจะพาไปดูการวิเคราะห์กราฟราคาของคู่เงินต่าง ๆ รวมถึงการเทรดทองคำด้วยครับ

เนื้อหาหลักๆ คือ The Trading Geek เน้นย้ำเรื่องการรอคอยจังหวะเข้าเทรดที่ดี ไม่รีบร้อน โดยเขาจะวิเคราะห์กราฟราคา มองหา Supply Zone และ Demand Zone รวมถึงสังเกต Price Action และ Momentum เพื่อหาจังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสม

  • Focus นาทีที่ 0:48 วิเคราะห์ AUDUSD โดยมองว่าเป็น Fake Breakout หลอกให้เทรดเดอร์รายย่อยเข้าซื้อ
  • Focus นาทีที่ 2:45 วิเคราะห์ GBPJPY ชี้ให้เห็น Demand Zone ที่ชัดเจน
  • Focus นาทีที่ 5:00 วิเคราะห์ GBPUSD โดยใช้ Momentum
  • Focus นาทีที่ 8:15 วิเคราะห์ EURUSD ซึ่งอยู่ในช่วงพักตัว
  • Focus นาทีที่ 11:00 วิเคราะห์ทองคำมองว่าเป็น Fake Breakout เช่นกัน

สรุป

โดยพื้นฐานแล้ว Forex Analytics มันคือเข็มทิศของเทรดเดอร์ที่จะนำทางเทรดเดอร์ให้อยู่รอดในตลาด Forex แห่งนี้เลยล่ะครับ มันคือการทำความเข้าใจว่าทำไมสกุลเงินถึงผันผวนและใช้ข้อมูลเชิงลึกนั้นให้เป็นประโยชน์แก่เรา

ดังนั้นหากเราอยากเป็นเทรดเดอร์ Forex ที่ประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ Forex Analytics เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอนครับ มันเป็นรากฐานของการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล หากเราเทรดแบบไม่วิเคราะห์แล้วไม่ก็ไม่ต่างจากการพนันหรอกครับ

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ