Fibonacci จัดเป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากในตลาด Forex และไม่ใช่แค่ในตลาด Forex เท่านั้นที่นิยมวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Fibonacci Indicator แต่เทรดเดอร์ที่วิเคราะห์กราฟราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) ต่างนิยมใช้ Fibonacci Indicator วิเคราะห์กราฟราคา
ซึ่งหลักการทำกำไรจาก Fibonacci Indicator เป็นการตั้งราคาเป้าหมายจากแนวรับและแนวต้าน โดยให้ค่าตัวเลขของ Fibonacci เป็นราคาเป้าหมาย ซึ่งค่าตัวเลข Fibonacci แบบ Basic หลายคนอาจจะใช้เป็นอยู่แล้วหรือรู้อยู่แล้วว่ามีค่าตัวเลขอะไรบ้าง
Fibonacci Indicator เป็นการวิเคราะห์กราฟราคาจากแนวรับและแนวต้าน ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่เข้าใจหลักการนี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว จึงทำให้การวิเคราะห์กราฟราคาด้วย Fibonacci Indicator เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่มีศักยภาพสูง
ความหมายของ Fibonacci
ลำดับเลข Fibonacci คือชุดตัวเลขที่เลขแต่ละตัวจะเท่ากับผลรวมของตัวเลขสองตัวก่อนหน้า 0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144… ไปจนถึงอนันต์ ลำดับนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘อัตราส่วนทองคำ’ เพราะถ้าคุณเลือกตัวเลขฟีโบนัชชีสองตัวที่ติดกันอัตราส่วนของสองเลขนั้นจะใกล้เคียงกับ 1.618 มากดังนั้นตัวเลข 1.618 นี้จึงถูกเรียกว่า ‘ฟี’ หรืออัตราส่วนทองคำ
อัตราส่วนทองคำปรากฏบ่อยครั้งในธรรมชาติสถาปัตยกรรมงานวิจิตรศิลป์ชีววิทยาและแม้กระทั่งในตลาดการเงินอย่าง Forex ตัวอย่างของสิ่งที่มีอัตราส่วนทองคำได้แก่มหาพีระมิดแห่งกีซา, ภาพวาดโมนาลิซ่าของลีโอนาร์โดดาวินชี, เปลือกหอยนอติลุส, กาแลคซีเกลียว, ดอกทานตะวัน, กิ่งไม้, รังผึ้งและใบหน้าของมนุษย์
Fibonacci กับ Forex
การใช้ Fibonacci สำหรับ Forex ในระดับ 61.8%, 38.2%, 23.6% มากที่สุดในตลาดการเงินตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้มาจากลำดับโดยตรงแต่มาจากความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างตัวเลขและลำดับ
– พื้นฐานของอัตราส่วน 61.8% มาจากการหารตัวเลขในชุด Fibonacci โดยตัวเลขที่ตามมายกตัวอย่างเช่น 34/55 = 0.6181
– อัตราส่วน 38.2% มาจากการหารตัวเลขในชุด Fibonacci โดยตัวเลขถัดไปทางด้านขวาสองตำแหน่งยกตัวอย่างเช่น 34/89 = 0.3820
– อัตราส่วน 23.6% มาจากการหารตัวเลขในชุด Fibonacci โดยตัวเลขถัดไปทางด้านขวาสามตำแหน่งยกตัวอย่างเช่น 34/144 = 0.2361
Fibonacci Retracements ใน MT4
ยังแบ่งออกเป็น 5 แบบครับ => Retracement , Time Zone , Fans, Arcs , Expansion ในตอนนี้จะนำเสนอในส่วนของ Retracement เท่านั้น เนื่องจากว่าเป้นที่นิยมมากสุดในเหล่าเทรดเดอร์ หากต้องการใช้ Fibonacci Retracement ให้ไปที่ ไอคอน Fibonacci Retracement ในแถบเครื่องมือที่ด้านบนซ้ายของหน้าจอ
ในกรณีที่มีการขยับลงดับเบิ้ลคลิกจาก Swing High (จุดสูงสุดเมื่อไม่นานมานี้ที่สูงที่สุด) แล้วลากไปที่ Swing Low (จุดต่ำสุดเมื่อไม่นานมานี้ที่ต่ำที่สุด) จากตรงนั้นจะเห็นตารางของระดับ 23.6%, 38.2%, 50% และ 61.8% บนกราฟโดยตำแหน่งเหล่านี้แสดงระดับที่ราคาอาจพบแนวต้านกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจุดที่ราคาอาจกระเด้งออกแล้วย้อนกลับต่ำลงไป
ในกรณีที่มีการขยับขึ้นดับเบิ้ลคลิกจาก Swing Low แล้วลากไปที่ Swing High จากตรงนั้นคุณจะเห็นตารางของระดับ 23.6%, 38.2%, 50% และ 61.8% บนกราฟโดยตำแหน่งเหล่านี้แสดงระดับที่ราคาอาจพบแนวรับกล่าวอีกนัยหนึ่งคือจุดที่ราคาอาจกระเด้งออกแล้วย้อนกลับสูงขึ้นไป
จะเห็นได้ว่าการลาก Fibonacci นั้น ไม่ยากเลย ลากง่าย ๆ อีซี่ อีซี่ ..
การทำกำไรจาก Fibonacci => ขาขึ้น และขาลง
มาดูการทำกำไรในขาขึ้นกันครับ ขอใช้กราฟ H1 คู่เงิน GBP/JPY โดยผมจะกาง Fibonacci ที่ราคา 141.105 นี่คือ จุด 0.0 จากนั้น เปิด ออร์เดอร์ Buy ที่ราคา 141.105 แล้วรอจังหวะปิด
ซึ่งปกติโดยทั่วไปราคาจะพักตัวอยู่ที่บริเวณ 61.8 , 50.0 และ 38.2 ในการหาทิศทางของตลาดนั้น ก็ให้ดูว่าราคามันกำลังวิ่งออกจากกรอบ (สัดส่วน) ไปฝั่งไหน ก็ให้เราเข้าออเดอร์ในฝั่งนั้น โดย ตั้งจุด TP ไว้ที่ 50.0 หรือ 61.8 ไว้ มาดูว่า ถ้าเราปิด TP ที่ 50.0 จะบวกมาเท่าไหร่ ตามภาพเลย
ในภาพ เราเปิด Buy ที่ราคา 141.105 รอให้ราคาทะลุ 50.0 ก็จะปิดออร์เดอร์ที่ราคา 142.893 ซึ่งใช้เวลา 31 แท่ง ( 31 ชั่วโมง ) บวกมา 175.9 pips แต่ถ้าเรานิ่งขึ้น และเย็นนิด รอไปปิด TP ที่ 61.8 จะไก้กำไรเพิ่มอีกเท่าไหร่ มาดูกันเลย ..
ในภาพ ผมลองขยาย จุด TP ไปปิดที่ 61.8 ก็คือไปปิดที่ราคา 143.281 ซึ่ง ใช้เวลา เพิ่มจาก 31 => 55 ชั่วโมง บวกมา 214.7 pips ถือว่าคุ้มค่าที่ขยาย บวกเพิ่มขึ้นมาก 39 pips เลย .. ส่วนจะขยาย TP ไปที่ 100.0 ก็ลองดูนะครับ ..
มาที่การทำกำไรในขาลงกันต่อเลย กาง Fibonacci กันเลย หาจุดสูงสุดในหน้าจอนั้น ๆ เลย
ในหน้าจอนี้ ราคาสูงสุดอยู่ที่ 135.622 เรากางทันที ให้ Fibonacci 0.0 ที่ราคานี้เลย จากนั้นลองตั้ง TP ที่ 61.8 ดูว่าจะบวกมา กี่ pips .. ตามภาพด้านล่างเลย
ในภาพ เราตั้ง TP ที่ 61.8 ซึ่งไปปิดที่ราคา 135.009 ซึ่งใช้เวลา 23 ชั่วโมง บวกมา 61.3 pips ถือว่า พอรับได้ กำไรพอสมควรกับเวลา 1วัน
แนวทางการกาง Fibonacci ด้วยตัวเอง แนว ง่าย ๆ อีซี่ อีซี่ .. ครับ ลองหัดบ่อย ๆ และทนรอเป้าหมาย บวก แน่ ครับ แต่จะตอนไหนเท่านั้นเอง
Retracement Zone (จุดพักตัวหรือแนวรับแนวต้าน)
Retracement Zone คือบริเวณที่ราคามีการฟักตัวอยู่ หากราคาวิ่งขึ้นตำแหน่งก็จะอยู่ระหว่าง 61.8 – 78.6 และถ้าราคาวิ่งลง ตำแหน่งจะอยู่ที่ 38.2- 23.6 ในการเข้าออเดอร์ buy หรือ sell นั้น ราคาก็ควรจะยู่ที่ 78.6 (กรณีราคาขึ้น) หรือ 23.6 (กรณีราคาลง) แต่ถ้าหากเป็นวัยรุ่นใจร้อน ก็อาจจะเข้าออเดอร์ buy หรือ sell เลย ที่ตำแหน่ง 61.8 (กรณีราคาขึ้น) หรือ 38.2 (กรณีราคาลง) เพราะขี้เกียจรอนานนั่นเอง
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ่านรีวิวโบรกเกอร์Fibonacci กับ EMA
วิธีนี้เป็นการเพิ่มความแม่นยำในการเทรดยิ่งขึ้น โดยใช้ร่วมกับ เส้น EMA 100 จะมีความแม่นยำสูงมากในการทำกำไร แต่ต้องขยับจากกราฟ H1 ขยายไปยัง กราฟ H4 .. สำคัญมากครับ! ลำดับแรกก่อนที่เราจะทำการเทรดเราต้องดูเทรนของคู่เงินก่อนครับว่ามันอยู่ในเทรนใด กราฟต้องมีเทรน โดยในภาพผมจะใช้เส้นสีแดง (EMA 100) สำหรับดูเทรนคู่เงิน
ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็ยังคงใช้ GBP/JPY เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนไปใช้กราฟ H4 มาดูเทรนของกราฟกัน
ในภาพ เรากาง Fibonacci เป็นเทรนขาลง โดยเริ่มที่ 0.0 => 135.650 จากนั้นสร้างเส้น EMA100 ขึ้นมา ผมใช้สีแดงครับ เพื่อให้ดูง่าย เพราะพื้นหลังกราฟเป็นสีดำ เมื่อแท่งเทียนหลุดลงมาต่ำกว่าเส้น EMA100 และอยู่ต่ำกว่า Fibonacci => 38.2 ให้ถือว่าเป็นเทรนขาลงที่ค่อนข้างแน่นอน เราเตรียมเปิด ออร์เดอร์ Sell ได้เลย
เมื่อแท่งเทียนหลุดเส้น EMA100 นั่นคือเทรนขาลง เราเปิด Sell เลย ในภาพเปิดที่ราคา 135.184 แล้ว รอปิด TP ที่ Fibo 100.0 ใช้เวลาถือ 5 แท่ง ( 5X4 = 20 ชั่วโมง ) บวกมา 59.9 pips ก็รับได้ครับ ขอให้บวก
การกาง Fibonacci และเส้น EMA100 ในขาขึ้นบ้าง เริ่มกางเลยพร้อมเพิ่มเส้น EMA กันตามภาพ
ในภาพก็ยังคงใช้คู่ GBP/JPY เหมือนเดิมครับ เริ่มกางขาขึ้นที่ราคา 144.60 => Fibo 0.0 กราฟทะลุขึ้นผ่านเส้น EMA100 ที่บริเวณ Fibo 38.2 ( เหมือน ๆ กันขาลง ) วึ่งเป็นการยืนยันในเทรนขาขึ้น เราเปิด ออร์เดอร์ Buy ที่ราคา 145.693 เลยครับ
ในภาพ ใช้เวลาถือไว้ 9 แท่ง => 36 ชั่วโมง .. ชนจุด TP ที่ Fibo 100.0 => 147.410 บวกมา 173 pips ถือว่า คุ้มค่าเลยครับ สำหรับไม้นี้
## การออกจากการเทรดจะสามารถดูจาก Fibonacci ที่ 61.8% หรือ 100%ในเป้าแรก และ 161.8% ##
## เทรดเดอร์จะใช้ Fibonacci เป็นแนวรับแนวต้าน ดังนั้น เทรดเดอร์หลาย ๆ คน จึงมองระดับแนวรับแนวต้านเดียวกัน และหาจังหวะเปิด ออเดอร์ Buy หรือ Sell หรือแม้กระทั่งใช้เป็นจุดทำกำไรและจุดออกเพื่อเติมเต็มความมั่นใจในการวิเคราะห์การเทรด ##
## ราคาเป้าหมายอันเป็นกำไร ที่เทรดเดอร์หวังอย่างมาก ก็คงเป็น 100.0 – 161.8 แต่โดยส่วนมากราคามักจะวิ่งมาชนแค่ 61.8 ถึง 100.0 กรณีที่วิ่งไปถึง FE 161.8 หรือทะลุ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่คงจะไม่บ่อยนัก ##
ส่วนตัวผมแล้ว การใช้งาน เจ้า Fibonacci ยังไม่คล่องแคล่ว นัก .. จึงเฉย ๆ กับ วิธีนี้ .. พบกันใหม่ตอนหน้า
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

Editor / web master
Nakrob Seareechon เป็น CEO ของเว็บไซต์ forexthai.in.th และเป็นนักเขียนร่วม ในบทความภายในเว็บไซต์ เข้าสู่ตลาด Forex ตั้งแต่ปี 2014 ผู้มีชีวิตที่โลดโผน จากลูกเกษตรกรในชนบท จบ ป.โท สายสุขภาพ อดีตข้าราชการ มีความฝันที่จะ มีรายได้อย่างยั่งยืนเฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาทภายใน 10 ปี (2029)

Writer / SEO
Krisorn Himmapan หัวหน้านักเขียนประจำ และทำ SEO ให้แก่เว็บไซต์ forexthai.in.th ประสบการณ์ในวงการ Forex กว่า 12 ปี (เริ่มเทรดเมื่อ ปี 2007 ปี) อดีตพนักงานบริษัทที่ใฝ่หา “ความสำเร็จ” จึงลาออกจากงานประจำเข้าสู่วงการ Forex ปัจจุบันเทรดเป็นอาชีพหลัก โดยกลยุทธ์หลักเน้นเทรดระยะยาว
ทีมงาน: forexthai.in.th