Forexthai.in.th ย่อให้

  • EMA 9 WMA 30 Trading setup คือ เทคนิคการเทรดที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น คือ EMA 9 และ WMA 30
  • คิดค้นโดย Mike Bruns ผู้ก่อตั้ง TradingNaked
  • วิธีใช้ง่ายๆ คือ ดูจากเส้น EMA 9 กับ WMA 30 แล้วรอจังหวะราคาทะลุ เปิด Long/Short ตามเทรนด์หลัก
  • ช่่วยในการบอกเทรนด์ของตลาด/เข้าเทรดตามเทรนด์, กรองสัญญาณหลอกได้ดี และใช้ได้หลายไทม์เฟรม
  • สัญญาณเกิดช้า เพราะเป็น lagged indicator

EMA 9 WMA 30 Trading setup

วันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด รูปแบบเงื่อนไขสัญญาณเทรด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคนิค โดยเทคนิคนี้มีชื่อว่า  9/30 trading setup ที่คิดค้นโดย Mike Bruns ผู้ก่อตั้ง TradingNaked ซึ่ง Set up นี้น่าสนใจมาก จึงอยากจะมานำเสนอให้เพื่อนๆเทรดเดอร์ทราบกัน เผื่อนำไปปรับใช้เป็นไอเดียเทรดของตัวเองครับ

Trading rules – 9/30 trading setups

Moving Average (MA) คือ Indicator ที่ใช้หาค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคาจำนวน xx แท่งเทียน

  • เช่น MA10 หมายความว่า ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคาจำนวน 10 แท่งเทียนย้อนหลัง เป็นต้น

โดย MA ก็แบ่งออกได้หลากหลายวิธีคิด ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณแบบ Simple, Exponential, และ Weighted เป็นต้น

ในยุคเริ่มแรกของการทำ Indicator MA นิยมใช้วิธีคำนวณแบบ Simple เนื่องจากเป็นพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงสูตรการคำนวณเป็นแบบ Exponential แทน เพื่อเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่และกลับตัวของเส้นกราฟเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง พูดง่าย ๆ ว่ามันทำให้เส้น MA ที่ได้มานั้นวิ่งตามราคาตลาดได้มากขึ้นนั่นเองครับ

ต่อมาก็มีการพัฒนาสูตรการคำนวณเพิ่มเป็นแบบ Weighted MA (WMA) ขึ้นมาเพิ่ม โดยวิธีนี้จะมีความคล้ายคลึงกับ Simple MA (SMA) แต่ว่าจะมีการถ่วงน้ำหนักของข้อมูล ซึ่งจะทำให้ค่าที่คำนวณออกมาได้กลายเป็น “ค่าที่วิ่งเร็วกว่า SMA นิดหน่อย” ครับ ถึงแม้ WMA จะมีการวิ่งที่เร็วกว่า SMA แต่เมื่อกลับกราฟกลับตัวมันจะแสดงตัวได้ช้ากว่านั่นเองครับ..

ในบทความนี้ เราจะแนะนำการ Set up EMA9 WMA30 โดยการ set up นี้จะประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น คือ

  1. เส้นค่าเฉลี่ย EMA 9 วันย้อนหลัง
  2. เส้นค่าเฉลี่ย WMA 30 วันย้อนหลัง

การใช้ 9/30 trading setups

Long (ฺBuy) setup

  1. EMA 9 อยู่เหนือ WMA 30
  2. ราคาปิด ต่ำกว่า EMA 9 (หรือถ้าเทรดเดอร์ Conservative หน่อย อาจใช้ทั้งแท่งเทียนต่ำกว่า EMA9)
  3. วาง Buy stop ที่ High ของแท่งเทียนที่ปิดต่ำกว่า EMA9 (คือจะเปิด Long เมื่อราคาดีดตัวเหนือ High ของแท่งเทียนที่ปิดต่ำกว่า EMA9)

Short (Sell) setup

  1. EMA 9 อยู่ต่ำกว่า WMA 30
  2. ราคาปิด สูงกว่า EMA 9 (หรือถ้าเทรดเดอร์ Conservative หน่อยอาจใช้ทั้งแท่งเทียนสูงกว่า EMA9)
  3. วาง Sell stop ที่ Low ของแท่งเทียนที่ปิดสูงกว่า EMA9 (คือจะเปิด Long เมื่อราคาดีดตัวเหนือ High ของแท่งเทียนที่ปิดต่ำกว่า EMA9)

ตัวอย่างการใช้งาน set up

 

EMA 9 WMA 30 การตั้งค่าการซื้อขายคืออะไร forex
Long setup

Long: USD/AUD สังเกตช่วงที่เส้น EMA9 อยู่เหนือ WMA30 รอจังหวะที่ราคาลงมาปิดต่ำกว่าเส้น EMA9 และตั้ง Buy stop ที่ High ของแท่งดังกล่าว

Short setup

Short: USD/AUD สังเกตช่วงที่เส้น EMA9 อยู่ต่ำกว่า WMA30 รอจังหวะที่ราคาลงมาปิดสูงกว่าเส้น EMA9 และตั้ง Sell stop ที่ Low ของแท่งดังกล่าว

ทำไมรูปแบบนี้ถึงเทรดได้ผล

การเทรดนั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของปัจจัย การเทรดนั้นจะต้องมีเหตุและผลในการอธิบายความเชื่อมโยงในการตั้งค่า ซึ่งค่า EMA และค่า WMA ต่างก็เป็นค่า Moving Average ทั้งคู่ เพียงแต่ “ค่า WMA เป็นเส้นให้สัญญาณที่เคลื่อนไหวช้า” จึงใช้จ่ายเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ขณะที่ EMA นั้นเน้นให้ความสำคัญกับค่าแท่งเทียนในแท่งปัจจุบัน ดังนั้น “EMA จึงเป็นเส้นที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่า”

การเคลื่อนไหวและค่าของ EMA กับ WMA

  • EMA 9 คือค่า EMA ที่มีค่าใกล้เคียงกับ 2 อาทิตย์ (10 วัน)
  • WMA 30 คือ ค่า 6 สัปดาห์

ซึ่ง 2 สัปดาห์ คิดเป็น 3 เท่า ของ 6 สัปดาห์ ซึ่งหมายถึง “เคลื่อนไหวเร็วกว่า 3 เท่า” ดังนั้นการใช้เส้นที่ช้ากว่า 3 เท่าจึงสามารถนำมาเป็นเส้นเปรียบเทียบได้

การใช้ 9/30 trading setups แบบเข้าเทรดตามเทรนด์ เครดิต By Power of Trading Focus นาทีที่ 2:03-8:23

ข้อดีของการใช้ Setup เส้นค่าเฉลี่ย 9/30

  • การใช้ค่าเฉลี่ยแบบสองเส้น จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของแนวโน้มตลาดได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยที่ WMA 30 จะบอกถึงทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในแนวโน้มหลัก ในขณะที่ EMA 9 จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ๆ มากกว่า ทำให้เราสามารถจับจังหวะเข้า-ออก ออเดอร์ได้แม่นขึ้น
  • การ Setup การเทรดแบบ 9/30 จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงจากการเทรดสวนเทรนด์ เพราะในเทคนิคนี้ เราจะเทรดตามทิศทางของ WMA 30 เท่านั้น ซึ่งเป็นการยืนยันเทรนด์หลักของตลาด
  • กรองสัญญาณหลอกได้ดีกว่าการใช้เส้นเดียว ทำให้ลดโอกาสการเทรดผิดทิศทางได้มาก อีกทั้งยังสามารถปรับใช้ได้กับหลายไทม์เฟรม ไม่ว่าจะเป็น H1, H4 หรือแม้แต่ Daily ก็ตาม ทำให้เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ได้ตามสไตล์การเทรดของตัวเอง

ข้อจำกัดของการเทรด

จุดอ่อนของเครื่องมือประเภท Moving average คือ ความล่าช้าของสัญญาณ เพราะว่ามันเป็น “สัญญาณประเภท Lagged indicator” การเปลี่ยนแปลงราคานั้นเกิดขึ้นก่อน Moving Average เคลื่อนไหว

ยิ่งการใช้ Moving Average ซ้อนกัน 2 ตัวทำให้การเคลื่อนไหวของราคากับ MA นั้นเคลื่อนไหวช้ากว่ากำหนด ทำให้การกำหนดจุดเข้านั้นอาจจะทำได้ลำบาก หลัก ๆ จึงนำมใช้บอกทิศทางเท่านั้น ซึ่งเทรดเดอร์ที่จะใช้งาน Moving Average นั้นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของ Indicator นี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม… ไม่มี Indicator ตัวไหนที่สมบูรณ์แบบ เทรดเดอร์จะต้องรู้จักประยุกต์ใช้งาน และฝึกให้ชำนาญเอง จึงจะช่วยเติมเต็มจุดอ่อนของ Indicator ได้ และสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว ลองนำไปเป็นไอเดียในการเทรดกันดูนะครับ

Nakrob Seareechon

บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

Krisorn Himmapan

Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

อ่านประวัติเพิ่มเติม

Krisorn Himmapan
Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

อ่านประวัติเพิ่มเติม

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments