ทฤษฏีดาว หรือ Dow Theory น่าจะเป็นหลักการเทรดที่มีอิทธพลต่อการเรียนของเทรดเดอร์มากสุด เพราะเรื่องของเทรนถือว่าเป็นการทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาเป็นอย่าไรและค่อยหาโอกาสที่จะเทรด ไม่ว่าจะเป็นการเทรดตามเทรนหรือการเทรดสวนเทรน ขึ้นกับว่าเทรนที่กำหนดเป็นอย่างไร

เทรนตามหลักการ Dow Theory

Dow Theory forex

ทฤษฏีดาว แบ่งการกำหนดเทรนออกเป็น 3 คือ Primary Trend, Intermediate Trend และ Minor Trend  โดยที่เทรนหลักหรือ Primary Trend เทรนหลักหรือแนวโน้มใหญ่ เป็นการมองจากชาร์ตวันเป็นหลักจะเป็น 200 วันขึ้นไป Intermediate Trend หรือเทรนแนวโน้มระยะกลาง

รองมาจากเทรนหลักก็จะเป็นการมองการเคลื่อนไหวจาก 3 สัปดาห์ จนถึงหลายเดือน และสุดท้าย Minor trend หรือเทรนระยะสั้น ก็จะเห็นการมองเทรนที่เป็นวันและไม่เกิน 3 สัปดาห์  รูปแบบการกำหนดเทรนก็แบบเดียวกัน ต่างกันที่ระยะเวลาที่ใช้ในการกำหนดเทรนว่ามองที่เทรนไหน

หลักการมองเทรน ถ้าจำได้เรื่องการพัฒนาการ swing highs/lows ก็ได้รับอิทธพลมาจากหลักการดาวนี้ การที่จะกำหนดเทรนขาขึ้นได้ ก็คือเมื่อเห็น Higher Highs ตามด้วย Higher Lows ทำเป็นขั้นบันไดขึ้นไป ส่วนสำคัญจะอยู่ที่ราคาเบรค High ก่อน

และพอราคาย่อตัวลงมา ต้องไม่ต่ำกว่า Low ก่อนที่สร้างขึ้นมาด้วย ดังนั้นการกำหนดเทรนไลน์ช่วยแบบด้านบนก็จะทำให้มองเทรนได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะสิ่งสำคัญที่บอกคือว่าทำให้ swing นั้นๆ ที่เกิดขึ้นเป็น impulsive move ที่บอกว่ายังมีเทรดเดอร์อยากเปิดเทรดทางนั้นอย่างมากและต่อเนื่องเลยทำให้เกิด impulsive move เกิดขึ้นได้

คลังคำศัพท์ เกี่ยวกับ Forex และการลงทุน ที่ควรรู้ เรียงตามลำดับอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เราตั้งใจทำให้ง่ายต่อการค้นหา...

รีวิวโบรกเกอร์ Forex จากการทดสอบระบบในแง่มุมต่างๆด้วยบัญชีจริง เทรดจริง เราตั้งใจทำเพื่อเคียงข้างเทรดเดอร์อย่างแท้จริง...

แต่พอ low ก่อนโดนเบรคจะส่งข้อความต่างออกไปเพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ราคาเบรคลงมาได้เพราะมีแต่เทรดเดอร์ที่เปิดออเดอร์ทางนั้นเลยทำให้เกิดออเดอร์เกินกัน ถือว่าเป็นการจบเทรนและยังถือว่าเป็นการเริ่มต้นเทรนอีกข้างด้วย หลักการก็แบบเดียวกัน  เทรนขาลงก็ราคาทำ Lower Lows ได้ ต้องตามด้วย Lower Highs ต่อเนื่องกัน  

สิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการเทรดคือเห็นราคาเบรค Low และ High ที่ตามมาต้องไม่สูงกว่า High ก่อน ก็ทำเทรนเป็นวัฏฏจักรไปแบบนี้ แล้วแต่ว่าเรามองที่เทรนไหน

หลักการ Dow Theory กำหนด Bull Market และ Bear Market

Dow Theory forex

การแบ่งตลาดตามเทรนก็จะแบ่งออกเป็น 2 คือ Bull Market และ Bear Market โดยบอกว่า Bull Market หรือตลาดขาขึ้นหรือเรียกตลาดกระทิง เพราะราคายังสามารถทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows ต่อเนื่อง และในทางกลับกันเมื่อราคาเปลี่ยนเทรน

เพราะราคาไม่สามารถทำ Higher High ได้ และตามด้วย Lower Low มีการเบรค Low ก่อนลงมาและตามด้วย Lower High เป็นการยืนยันเทรนเปลี่ยน และเทรนใหม่เกิดขึ้น ในกรอบสีแดงดูว่าราคาทำ Lower High ได้ก่อน Lower Low แต่สำคัญให้เห็นว่า Higher Low ก่อนต้องโดนเบรค เลยมากำหนดจุดเริ่มต้นเทรนที่วงกลมด้านล่าง  กลายมาเป็นตลาดทำเทรนลงหรือ Bear Market หรือตลาดหมี

นอกจากนั้นแล้ว ตามทฤษฏี Dow Theory ยังแบ่งตลาดเป็นช่วงๆ อีก สำหรับเทรนขาขึ้นก็มีช่วง Accumulation, Participation (Big move) และ Excess สำหรับเทรนขาลงก็มีช่วง Distribution, Participation (Big Move) และ Panic

ส่วนสำคัญของ จุด swing ในทฤษฏีดาว

swing ในทฤษฏีดาว Forex

ทฤษฏี Dow Theory ให้ความสำคัญเรื่องของเทรนและให้เทรดสัมพันธ์กับเทรน ดังนั้น การกำหนดเทรนต้องดูให้ออกว่าแต่ละช่วงทำเทรน สำคัญอย่างไร ดูตรงไหน เช่นมองเรื่องโครงสร้าง เช่นอย่างจุดแรกก่อนที่จะดันราคาขึ้นมาทำ Higher High ได้ หรือถือว่าเป็นช่วงปกติรายย่อยไม่กล้าเทรดช่วงนี้กันเพราะราคาทำเทรนลง

จะเห็นการเทรดสวนเทรน เพราะเรื่องของเทรนบอกมาแบบนั้น แต่เมื่อมองออเดอร์และการเทรดท่านจะพบสิ่งหนึ่ง เรื่องของเทรนเปิดโอกาสให้ขาใหญ่ได้เข้าเทรดได้ง่าย เพราะการที่จะเปิดเทรดได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิด sell หรือ buy ออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาเปิดเทรดที่ราคาต้องการเปิดเทรด และขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ จนมากพอที่จะดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการได้

ถ้าพวกเขาจะเปิดเทรดได้ และมั่นใจว่ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอ ก็ต่อเมื่อราคาทำเทรน ช่วงที่สวนเทรนจึงมีแต่การเข้ามีส่วนร่วมมาจากขาใหญ่ทั้งนั้น ดูที่ Higher Low แรกที่ตามมาทำงานตามเทรนได้ดี เพราะ swing high ที่เกิดขึ้นหรือที่ราคาขึ้นไปทำ Higher High แรง เกิดขึ้นด้วย momentum มีการเข้าเทรดแรงๆ 

บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

ราคาสามารถปิดเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามด้วย กลายมาเป็น impulsive move พอราคาย่อตัวลงมาก็ทำเป็น impulsive move ได้อีก จะเห็นว่าช่วง participation phase หรือช่วงที่ 2 ของแต่ละตลาดไม่ว่าจะเป็น Bull Market หรือ Bear Market ทำให้เกิดการวิ่งแรงๆ เกิดขึ้นได้

เพราะข้อมูลเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็ได้ข้อมูลนี้ และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดก็ได้ข้อมูลนี้ และต้องดูความต่อเนื่องของ swing highs/lows ที่เกิดขึ้นตามมาด้วย เช่น Higher High ต้องมากกว่าที่ High เก่ามากพอ ไม่ใช่ขึ้นมานิดหน่อยและ Higher Low ก็เช่นกัน ถ้าระยะห่าง Higher High และ Higher Low ที่ตามมาแคบลง ให้รู้ว่าเทรดเดอร์ที่อยากเปิด market orders ทางนั้นเริ่มน้อยลง

ข้อเสียของเรื่องเทรนจากการเทรดตาม Dow Theory

การเทรดตาม Dow Theory

การเทรดตามเทรนเป็นเรื่องที่ดี เมื่อเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร ออเดอร์ทำงานอย่างไรและเทรดเดอร์โดยเฉพาะขาใหญ่เทรดอย่างไร เพราะเมื่อท่านสามารถกำหนดเทรนได้  ยิ่งราคาทำเทรนต่อเนื่อง ท่านจะเห็นว่าเทรนยิ่งชัดเจน ยิ่งดึงดูดให้เทรดเดอร์อยากเทรดตาม ช่วงที่ 2 หรือที่เกิด Big move ที่ต้องการขึ้นปกติ

แต่มองมุมเรื่องตลาดทำงานและการเทรดและการทำกำไรในตลาด การเทรดจะเกิดขึ้นถ้าท่านเปิดเทรดที่ราคานั้น ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามที่ราคานั้นเหมือนกัน และการที่ท่านมีออเดอร์ที่ท่านเปิดเทรดแล้ว หรือเรียกว่าเป็น position จะเกิดกำไรได้ ก็ต่อเมื่อราคาวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรด

และออเดอร์ที่จับคู่กับท่านตอนเปิดเทรดก็ต้องติดลบ ในทางกลับกัน ถ้าท่านติดลบ แสดงว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังกำไร ดังนั้นหลักการทำกำไรในตลาด เมื่อท่านจะกำไรได้ ก็ต้องมีคนเสียในขณะเดียวกัน เรื่องของเทรน ทำให้เทรดเดอร์อยากเปิดออเดอร์ไปทางนั้นๆ เป็นหลัก

เมื่อราคาทำเทรนมามากพอหรือสักระยะ จะเห็นเรื่องการเกิดสวนเทรนขึ้นประจำ เพราะขาใหญ่เปิดเทรดด้วยจำนวนเยอะ เงื่อนไขเดียวที่พวกเขาจะเปิดเทรดคือ มีออเดอร์ตรงข้ามมากพอจุดที่พวกเขาจะเปิดเทรด ไม่ใช่เรื่องของเทรน เพราะพวกเขาเทรดด้วยทุนเยอะ สามารถปั่นราคาให้เป็นเทรนที่พวกเขาต้องการได้

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

อีกอย่างต้องรู้ที่มาของ market orders ที่จะเข้ามาตามเมื่อขาใหญ่เปิดเทรดด้วย การเทรดของขาใหญ่จะเทรดเป็นพื้นที่ๆ และปล่อยให้รายย่อยกว่าช่วยดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการ พวกเขาจะเทรดพื้นที่เดียวกัน

และพยายามรักษาจุดที่พวกเขาเทรดไม่ให้เกิดการเปลี่ยนไปได้ เพราะ price structure ที่เกิดขึ้นจากการเข้าเทรดของพวกเขาส่งข้อมูลใหม่ ไปยังเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดและที่ถือ positions อยู่ในตลาดด้วย

โดยฉพาะเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตรงที่พวกเขาเปิดเทรด เมื่อร่องรอยการเปิดเทรดของพวกเขาเปิดเผย เทรดเดอร์ที่เทรดตรงข้ามกับพวกเขาติดลบหมด กลายเป็น trapped traders ทันที การที่พวกเขาจะทำกำไรมากขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีเทรดเดอร์เปิดเทรดทางที่พวกเขาเปิดเทรด หลังจากที่พวกเขาเปิดเทรด

ดังนั้นเมื่อ price structure ใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะการเข้าเทรดของพวกเขา เทรดเดอร์ trapped traders ก็จำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยงตัวเอง และการออกจากตลาดเท่ากับเป็นการเปิดออเดอร์ตรงข้ามที่เปิดที่ราคาที่ออก นั่นคือ 2 แหล่งที่มาของ market orders ที่จะเข้ามาหลังจากที่ขาใหญ่เปิดเทรด โดยเฉพาะออเดอร์ที่มาจาก trapped traders เพราะไม่มีทางเลือกแบบที่รอเข้าเทรด

กำหนดเทรนแล้วเทรดเมื่อเห็นแหล่งที่มาออเดอร์

ดังนั้นเรื่องของเทรนตามหลักทฤษฎี Dow Theory ไม่ว่าจะเป็น Primary Trend, Intermediate Trend หรือ Minor Trend ให้เข้าใจเรื่องออเดอร์ว่าทำงานอย่างไร และเทรดเดอร์โดยเฉพาะขาใหญ่เทรดอย่างไร ก่อนที่จะเปิดเทรดตามแต่ละเทรนที่กำหนด สำหรับ Trade setup

โดยเฉพาะเงื่อนไขออเดอร์ที่มาจาก trapped traders เพราะออเดอร์พวกนี้จะมาจากการที่ trapped traders กำหนด stop loss orders เป็นหลัก เมื่อราคาตลาดไปถึงและแตะ ก็จะทำให้ทำงานทันที หรือตลาดเป็นตัวเปิดออเดอร์นั้นให้จาก stop loss orders จะกลายมาเป็น market orders ทันที

Block "editor-web-master" not found

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments