Forexthai.in.th ย่อให้

  • Currency Strength Meter คือเครื่องมือวัดความอ่อน-แข็งของค่าเงิน
  • ช่วยให้เทรดเดอร์คาดการณ์ทิศทางราคาได้ง่ายขึ้น
  • มีหลายรูปแบบ เช่น Indicator ที่ใช้ MA และ ADX, เว็บไซต์แสดงค่าเป็นเฉดสี, และ Heat Map ของ Myfxbook
  • ในการใช้ ต้องระมัดระวังช่วงประกาศข่าวสำคัญ เพราะค่าเงินอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Currency Strength Meter

Currency Strength Meter คือ ตัววัดค่าความอ่อน-แข็งค่าสกุลเงิน จะสามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่ากราฟ (ราคา) ของหุ้น Forex จะมีราคาไปในทิศทางใด

ถึงแม้ว่า การจับคู่ความแข็งแกร่งของค่าเงินนั้นเราจะเลือกมาถูกคู่แล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ยังคงต้องระวัง ก็คือ เรื่องของข่าวสารตัวเลขเศรษฐกิจที่จะมีผลทำให้ความแข็งแกร่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วยนะครับ อีกทั้งกราฟราคายังขึ้นอยู่กับปัจจัยของความต้องการซื้อขายทั่วโลกด้วย

ตัววัดค่าความอ่อน-แข็งค่าสกุลเงิน ที่นำมาเสนอในบทความนี้ จะเป็น “indicator ที่นำมาใช้วัดค่าความแข็งของคู่เงิน” และ เว็บไซต์ที่บอกค่าความแข็งของค่าเงิน” ครับ โดยรวบรวมมาในจำนวนที่พอสมควร มาดูตัวแรกกันเลย

1.Currency Strength Indicator

โดย Currency Strength Indicator ตัวนี้ จะใช้ค่าจาก Moving Averages และ ADX เพื่อกำหนดค่าและยืนยันความอ่อน-แข็งค่าของสกุลเงิน โดยตัววัดค่าความอ่อน-แข็งค่าสกุลเงินจะอ่านจากทุกคู่สกุลเงินใน forex ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาและใช้การคำนวณราคาของแต่ละสกุลเงิน จากนั้นก็จะแบ่งระดับความอ่อน-แข็งค่าของสกุลเงินเป็น 4 ระดับดังนี้

  1. สีชมพู 0 – 10.0 ค่าสกุลเงินแข็งมาก
  2. สีเขียว 0 – 6.9 ค่าสกุลเงินแข็ง
  3. สีน้ำเงิน 9 – 4.9 ค่าสกุลเงินอ่อน
  4. สีแดง 0 – 2.8 ค่าสกุลเงินอ่อนมาก

Currency Strength Indicator forex

จากภาพ

  • ตระกูล  CHF, JPY, CAD แสดงเป็นสีเขียว อยู่ในช่วง 5.0 – 6.9  ก็ถือว่า ค่าเงินอยู่ในเกณฑ์ที่แข็ง
  • ตระกูล EUR, AUD แสดงเป็นสีน้ำเงิน อยู่ในช่วง 2.9 – 4.9  ถือว่าค่าเงินอยู่ในระดับอ่อน
  • NZD, USD แสดงค่าเป็นสีแดง อยู่ในช่วง 0.0 – 2.9  ถือว่าค่าเงินอยู่ในระดับอ่อนมาก
  • บรรทัดสุดท้าย => GBPAUD 2.4 BUY เป็นการแสดง “ค่าความอ่อนแข็ง” ของกราฟคู่เงินที่เราลากไปวางไว้

การคำนวณของอินดิเคเตอร์ จะใช้การหารของคู่เงินสองสกุล มาเป็นตัวหาร ลองนำมาคู่  EUR/USD  มาคำนวณครับ

  • EUR/USD  =>  EUR: 3.7 หาร USD: 2.1 = 1.76  ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  EUR/USD  กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • AUD/USD => AUD: 3.4 หาร USD: 2.1 = 1.61  ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  AUD/USD  กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • USD/JPY => USD: 2.1 หาร JPY: 5.9 = 0.35 ค่าออกมา บวก แต่ต่ำกว่า 1 คู่ USD/JPY ยังน่าจะเป็นขาลงอยู่ครับ

คลังคำศัพท์ เกี่ยวกับ Forex และการลงทุน ที่ควรรู้ เรียงตามลำดับอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เราตั้งใจทำให้ง่ายต่อการค้นหา...

รีวิวโบรกเกอร์ Forex จากการทดสอบระบบในแง่มุมต่างๆด้วยบัญชีจริง เทรดจริง เราตั้งใจทำเพื่อเคียงข้างเทรดเดอร์อย่างแท้จริง...

2. Currency Strength Meter

เป็น Indicator ใช้ในการช่วยวัดระดับ “ความแข็ง/อ่อนของสกุลเงิน” ต่างๆ อีกตัว โดยนำเอาสกุลเงินหลักของโลกมารวมไว้ โดย เริ่มจาก USD, EUR, GBP, CHF, CAD, AUD, NZD, และ  JPY

Currency Strength Meter forex
อินดิเคเตอร์ Currency Strength Meter

ในการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ เราสามารถเลือกตั้งค่าได้ และการคำนวณของอินดิเคเตอร์ จะใช้การหารของคู่เงินสองสกุล มาดูตัวอย่างของคู่เงินคู่แรกกัน

  • EUR/USD  =>  EUR: 5.0 หาร USD: 4.1 = 1.21  ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  EUR/USD กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • AUD/USD => AUD: 5.0 หาร USD: 4.1 = 1.21  ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  AUD/USD กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • USD/JPY => USD: 4.1 หาร JPY: 6.2 = 0.66 ค่าออกมา บวก แต่ต่ำกว่า 1 คู่ USD/JPY ยังน่าจะเป็นขาลงอยู่ครับ

นี่เป็นตัวอย่างคู่เงินหลัก ๆ ที่นำมาเสนอกัน แต่!จะใช้ใด้ในกรณีไม่มีข่าวที่แรง ๆ นะ หากเจอข่าวแรง ๆ แบบ FED, Nonfarm  ก็ไม่รับประกันนะครับ ค่าความแข็งความอ่อนเปลี่ยนแน่ แนะนำหลีกเลี่ยงข่าวครับ อันตราย

3. Currency Strength Meter V1.1

เป็น Indicator ใช้ในการช่วยวัดระดับ ความแข็ง/อ่อน ของสกุลเงินต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้พิจารณาดูแนวโน้มของคู่เงินต่างๆ ในแต่ละวัน โดยความแข็ง-อ่อนของสกุลเงินนั้น มีระดับตั้งแต่ 0-10

  • คะแนน 10 = แข็งที่สุด
  • คะแนน 0 = อ่อนที่สุด
Currency Strength Meter V1.1 forex
Currency Strength Meter V1.1

ในภาพ เรามาเริ่มไล่เรียงความแข็งของค่าเงิน ตามลำดับลงมา เริ่มจาก 7.1 CHF ที่ค่าแข็งมาเป็นอันดับ 1 ไล่ไปจนตัวสุดท้ายคือ USD มีค่า 2.0 ที่ค่าเงินอ่อนที่สุดอยู่รั้งท้าย

วิธีการเปิดออเดอร์ คือ คู่เงินที่ค่ามาก ให้เปิดออเดอร์ buy และค่าน้อยเปิดออเดอร์ sell  เช่น  CHF, GBP, JPY รอจังหวะเปิด Buy ส่วน AUD, NZD, USD รอจังหวะ  Sell โดยรวม ๆ แล้ว ใช้งานไม่ยากครับ หรือจะใช้การเอาคู่เงินมาตั้งหารกันก็ยังได้

  • EUR/USD  =>  EUR: 3.6 หาร USD: 2.0 = 1.8 ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  EUR/USD  กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • AUD/USD => AUD: 3.4 หาร USD: 2.0 = 1.7 ค่าออกมาเป็น บวก ดังนั้น คู่  AUD/USD  กราฟควรจะเป็นขาขึ้นครับ
  • USD/JPY => USD: 2.0 หาร JPY: 6.9 = 0.28 ค่าออกมา บวก แต่ต่ำกว่า 1 คู่ USD/JPY ยังน่าจะเป็นขาลงอยู่ครับ

บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

4. เว็บ Livewcharts.co.uk/currency 

เว็บ livecharts.co.uk เป็นเว็บใช้บอกความอ่อนและแข็งของค่าเงิน โดยจะแสดงค่าเป็น “เฉดสี” ไล่เรียงขึ้นไป ซึ่งในตัวเว็บจะแสดงสกุลเงินหลัก แต่จะไม่สามารถคำนวณได้แบบ indicator ที่ได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้

Livewcharts.co.uk/currency forex

จากภาพด้านบน ผมขอโฟกัสไปที่ สกุลเงิน AUD เริ่มมีการไล่สีจากสีแดง > ส้ม > เหลือง > เขียวอ่อน > เขียว > เขียวเข้ม ดูเผิน ๆ ก็พอจะมองออกว่ากราฟจะเป็นขาขึ้น เพื่อให้แน่ใจ ผมจึงเปิดกราฟ AUD/CHF ที่เป็นหนึ่งในคู่พิมพ์นิยม ตามภาพด้านล่างครับ

AUD/CHF forex
AUD/CHF กำลัง เทรนด์ขึ้น

คู่ AUD/CHF กำลังจะไต่ระดับขึ้น และมาดูสกุล JPY กันบ้างครับ ตอนนี้กำลังเป็นเทรนด์ใหญ่เลยครับ เพราะทรัมป์ออกมาประกาศขึ้นภาษีกับจีน ป่วนทั้งโลกเลยครับ คู่เงินทุกคู่ ดิ่งทะลุแกนโลกเลย แดงเดือดสุด ๆ

USD/JPY forex
เงินสกุล JPY ราคาเริ่มมีการปรับตัวขึ้น เนื่องจากก่อนหน้ามีการปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง

และกำลังจะเป็นเทรนด์ขึ้น ที่ราคาเริ่มปรับตัวขึ้นเพราะก่อนหน้านี้ลงมาเยอะแล้วครับ จากสีแดงก็เลยเปลี่ยนเฉดมาเป็นสีส้ม

5. Myfxbook Heat Map

Myfxbook Heat Map forex
Heat Map ในเว็บของ Myfxbook

ในเว็บของ Myfxbook ก็มีเมนูการแสดงค่าของความอ่อน-แข็งของค่าเงินเหมือนกันครับ โดยจะอยู่ในเมนู Market > Heat Map ซึ่งจะแสดงข้อมูลของคู่เงินครบทุก TF กันเลย ไล่เรียงมาตั้งแต่ กราฟ 1 นาที, 4H, D1, Week ไปจนถึง Monthly โดยแสดงเป็นเฉดสี พร้อมทั้งคู่เงินที่จับคู่มาแล้วเช่น AUD/JPY, AUS/USD, EUR/USD

Myfxbook Heat Map forex

โดยแสดงในรูปแบบเฉดสีของ heat map เลือกได้ว่าจะให้แสดงปลแบบ pips หรือ percent ยกตัวอย่างคู่ AUD/JPY ไล่จาก Time Frame ใหญ่ไปเล็ก

  • Monthly > เฉดสีแดง: เทรนด์ขาลง
  • Week > เฉดสีชมพู
  • Day > สีเขียว: เทรนขาขึ้น
  • กราฟ 4H => สีชมพู

ซึ่งสรุปรวมกันแล้ว สามารถตีความได้ว่าภาพรวมนั้นก็ยังไม่แน่ชัด แต่จากการที่ กราฟ 4H  กับ กราฟ 1H เป็นสีแดง ก็ยังมองได้ว่า น่าจะเป็นขาลง ..

AUD/JPY forex

และกราฟที่ต่ำลงไป ล้วนเป็นสีแดงทั้งหมด ก็อนุมานได้ว่าคงเป็นขาลงต่อไป มาดูสกุลเงินที่กำลังวิ่งแรง อยู่ในตอนนี้บ้างครับ

XAU/USD forex

ใช่ครับ ทองคำ (Gold) วิ่งกระจายมาเป็นเดือน-สองเดือนแล้ว และยังคงวิ่งต่อไป ในภาพเราเห็นว่า แทบทุกกราฟ ไล่ลงมาตั้งแต่ กราฟเดือน, สัปดาห์, 4H, 1H ล้วนเป็นสีเขียวทั้งหมด เรามาดูกราฟทองกันว่าเป็นขาขึ้นจริง ๆ ไหม

Myfxbook forex
กราฟทองคำ (XAUUSD)

กราฟ D1 ของทองคำพุ่งทะลุชั้นบรรยากาศไปเรียบร้อยแล้ว..  แต่ส่วนตัวผมยังมองว่าการใช้ Heat Map ของ Myfxbook นั้น ต้องวิเคราะห์หลายส่วนครับ ขอดูกราฟดีกว่า

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

เทคนิคการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทีนี้เรามาดูกันว่าจะใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความแข็งแกร่งของสกุลเงินให้คุ้มค่าที่สุดยังไงดี ผมจะแชร์เทคนิคดีๆ ให้คุณได้ลองเอาไปปรับใช้กัน ดังนี้ครับ

  1. ดูภาพรวมก่อนเสมอ: ก่อนจะเทรดคู่ไหน ลองมองภาพรวมของทุกสกุลเงินก่อนครับ จะได้รู้ว่าตอนนี้ “ใครแรง ใครอ่อน” บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นว่า EUR มีค่า 7.5 ในขณะที่ USD มีค่า 3.2 ก็แสดงว่าตอนนี้ยูโรกำลังแข็งค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐอยู่มาก อันนี้อาจจะเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการเทรด EUR/USD ในทิศทางขาขึ้นครับ
  2. จับคู่ให้ถูก: เลือกสกุลเงินที่แข็งที่สุดกับอ่อนที่สุดมาเทรดด้วยกัน โอกาสทำกำไรสูงกว่าเยอะเลยครับ วิธีการก็คือ เลือกสกุลเงินที่มีค่าสูงสุดใน Currency Strength Meter มาเป็นสกุลหลัก (base currency) และเลือกสกุลเงินที่มีค่าต่ำสุดมาเป็นสกุลรอง (quote currency)
  3. อย่าลืมดู Timeframe: ถ้าเทรดระยะสั้นก็ดู 15 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ส่วนระยะยาวก็ไปดู 4 ชั่วโมงหรือรายวันแทน ที่สำคัญคือต้องเลือก Timeframe ให้เหมาะกับสไตล์การเทรดด้วย เช่น Day Trader อาจจะดูกราฟ 1 ชั่วโมงเป็นหลัก Swing Trader ก็อาจจะดูกราฟ Day แทน วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพความแข็งค่าของสกุลเงินที่สอดคล้องกับกรอบเวลาการเทรดของคุณมากที่สุดครับ
  4. ใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น: สามารถนำไปใช้ร่วมกับ Support/Resistance หรือ Trend Lines ได้ครับ ตัวอย่างเช่น ถ้า Currency Strength Meter บอกว่า EUR กำลังแข็งค่าเมื่อเทียบกับ USD และคุณเห็นว่ากราฟ EUR/USD กำลังทะลุแนวต้านสำคัญพอดี เป็นจังหวะในการเปิดออเดอร์ Buy และยิ่งได้จุดเข้าที่ดีขึ้นด้วย
  5. ระวังช่วงข่าว: โดยเฉพาะช่วงประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ หรือการประชุมธนาคารกลาง ค่าใน Currency Strength Meter อาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงเวลานั้นและรอให้กราฟพักตัวก่อนจะดีที่สุดครับ

Currency Strength Meter สามารถใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ครับ แต่สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจเทรดที่ดีต้องมาจากการวิเคราะห์รอบด้าน ทั้งปัจจัยทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานครับ

สรุป

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ Currency Strength Meter กันอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น Currency Strength Indicator, Currency Strength Meter V1.1 และ Heat Map ของ Myfxbook ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นไอเทมเสริมที่จะช่วยให้เราอ่านทิศทางตลาด Forex ได้แม่นยำขึ้น เพียงแต่เราต้องรู้จักใช้ให้ถูกวิธี ระมัดระวังในจุดที่ต้องระวัง และที่สำคัญ อย่าลืมฝึกฝนและทดลองใช้บ่อยๆ

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเทรดเดอร์ทุกคนนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments