บอกได้เลยว่ารูปแบบของ Chart Pattern ที่จะได้พบเห็นในกราฟราคานั้น มีมากมายหลายรูปแบบยิ่งนัก หากจะต้องเรียนรู้และจดจำให้ได้ทั้งหมด คงต้องใช้เวลานานโขทีเดียว เราจึงขอยกเอามาเพียง “รูปแบบของ Chart Pattern ที่ต้องรู้” เพื่อเพิ่ม Skill ในการ Trade ให้เทพยิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

Chart Pattern
การเรียนรู้รูปแบบของ Chart Pattern สามารถช่วยเพิ่ม Skill ในการ Trade ให้เทพยิ่งขึ้นได้

Triangle รูปแบบสามเหลี่ยม

รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) เป็นรูปแบบกราฟที่ราคาจะเคลื่อนไหวไปในกรอบที่แคบลงเรื่อย ๆ โดย “ราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นและลงภายในกรอบสามเหลี่ยม” รูปแบบสามเหลี่ยมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

Triangle
Triangle รูปแบบสามเหลี่ยม เป็นรูปแบบกราฟที่มีทั้งสัญญาณ Reversal Pattern และ Continuation

1. Symmetrical Triangle:

เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สมมาตร รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดกำลังพักตัวหรือกำลังสะสมพลังก่อนการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

  • สัญญาณ Reversal Pattern หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางเดียวกับแนวโน้มก่อนหน้า รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณการกลับตัวที่แข็งแกร่ง
  • สัญญาณ Continuation หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางเดียวกับแนวโน้มก่อนหน้า รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณ continuation ที่แข็งแกร่ง

2. Ascending Triangle:

เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่ด้านบนของกรอบสามเหลี่ยมจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดกำลังเป็นขาขึ้น

  • สัญญาณ Reversal Pattern หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางขาขึ้น รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณการกลับตัวขาขึ้นที่แข็งแกร่ง
  • สัญญาณ Continuation หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางขาขึ้น รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณ continuation ขาขึ้นที่แข็งแกร่ง

3. Descending Triangle:

เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่ด้านล่างของกรอบสามเหลี่ยมจะต่ำลงเรื่อย ๆ รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดกำลังเป็นขาลง

  • สัญญาณ Reversal Pattern หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางขาลง รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณการกลับตัวขาลงที่แข็งแกร่ง
  • สัญญาณ Continuation หากราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางขาลง รูปแบบสามเหลี่ยมจะถือเป็นสัญญาณ continuation ขาลงที่แข็งแกร่ง

รูปแบบสามเหลี่ยมถือเป็นรูปแบบกราฟที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักลงทุน เนื่องจากรูปแบบนี้ “สามารถให้สัญญาณการกลับตัวหรือ continuation ของแนวโน้มราคาได้”

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบสามเหลี่ยม

จากตัวอย่างกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าราคา EUR/USD เคลื่อนไหวในกรอบสามเหลี่ยม Ascending Triangle เป็นเวลาระยะหนึ่ง จากนั้นราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยมในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ราคา EUR/USD ปรับตัวขึ้นต่อ เราก็สามารถเทรดตามแนวโน้มของราคาที่มีการวิ่งทะลุผ่านนั้นได้

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบสามเหลี่ยม
EUR/USD ราคา Breakout ออกจากกรอบสามเหลี่ยม เราก็สามารถเทรดตามแนวโน้มนั้นได้

การจับจังหวะเพื่อการเทรดด้วยรูปแบบสามเหลี่ยม Triangle แบบอื่น ๆ นอกจากตัวอย่างนี้ ก็จะมีเทคนิคการใช้งานคล้าย ๆ กันนี้ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

Head and Shoulders รูปแบบหัวและไหล่

รูปแบบหัวและไหล่ (Head and Shoulders) เป็นรูปแบบกราฟที่บ่งบอกถึง “การกลับตัวของแนวโน้มราคา จากแนวโน้มเดิมที่วิ่งอยู่” รูปแบบของกราฟราคาแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับหัวคนและมีไหล่สองข้าง ดังนี้

  • Left Shoulder ไหล่ซ้าย:

เป็นจุดสูงสุดของราคาที่อยู่ด้านซ้ายของยอดเขา (ราคาที่สูงที่สุด) มักจะมีความสูงใกล้เคียงกับจุดสูงสุดที่อยู่ด้านขวาของยอดเขา

  • Head หัว:

เป็นจุดสูงที่สุดของรูปแบบกราฟราคา จะเป็นยอดที่สูงที่สุดอยู่ตรงกลางแล้วมียอดสูงรองลงมาทั้งซ้ายและขวา

  • Right Shoulder ไหล่ขวา:

เป็นจุดสูงสุดที่ 3 ของรูปแบบ มักมีความสูงใกล้เคียงกับไหล่ซ้าย

Head and Shoulders
ภาพลักษณะโครงสร้างของรูปแบบหัวและไหล่ (Head and Shoulders)

Neckline เส้นยืนยันแนวโน้มของราคา

เส้น Neckline นี้ถือเป็นแนวต้านหรือแนวรับที่สำคัญ โดยเส้น Neckline จะเป็นเส้นแนวนอนที่ลากผ่านจุดต่ำสุดหรือสูงสุดของไหล่ซ้ายและไหล่ขวา เพื่อเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มของราคาที่จะเกิดขึ้น โดยจะวิเคราะห์ได้ ดังนี้

  • เมื่อราคาเดิมอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น: หากราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ที่ลากผ่านจุดต่ำสุดของไหล่ซ้ายและขวา จะเป็นการยืนยันว่าราคากำลังเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง
  • เมื่อราคาเดิมอยู่ในแนวโน้มขาลง: หากราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ที่ลากผ่านจุดสูงสุดของไหล่ซ้ายและขวา จะเป็นการยืนยันว่าราคากำลังเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น

เส้น Neckline จึงถือว่าเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มจากรูปแบบ Head and Shoulders ว่าเป็นสัญญาณการกลับตัวจากทิศทางเดิมที่สมบูรณ์

การวัดระดับเป้าหมายที่จะไปถึงได้

การวัดระดับเป้าหมายที่จะไปถึงได้ เมื่อมีการ Breakout ออกจากเส้น Neckline จากรูปแบบ Head and Shoulders ระดับเป้าหมายของการกลับตัวทั้งขาขึ้นและขาลง มักจะอยู่ที่ระดับความห่างจากยอดสูงของหัว (Head) วัดไปถึงเส้น Neckline นั่นคือระดับราคาที่จะวิ่งไปถึงได้

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบหัวและไหล่

จากตัวอย่างกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าราคา EUR/USD เคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้น จากนั้นราคาเริ่มปรับตัวลงและฟอร์มตัวเป็นรูปแบบหัวและไหล่ เมื่อราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ในทิศทางขาลง ส่งผลให้ราคา EUR/USD ปรับตัวลงต่อและทดสอบระดับเป้าหมาย

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบหัวและไหล่
เมื่อราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ในทิศทางขาลง เราก็สามารถเทรดด้วยการ Sell ได้

อย่างไรก็ตาม “รูปแบบหัวและไหล่ก็ถือเป็นรูปแบบกราฟที่มีโอกาสเกิด False Breakout” ได้เช่นกัน ดังนั้นนักลงทุนจึงควรใช้เครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมประกอบการตัดสินใจในการเทรดด้วยรูปแบบหัวและไหล่

Cup and Handle รูปแบบถ้วย

รูปแบบถ้วย (Cup and Handle) เป็นรูปแบบกราฟที่บ่งบอกถึง “การกลับตัวของแนวโน้มราคา” ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับถ้วยกาแฟ โดยประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

  • ฐานถ้วย (Cup Bottom)

เป็นจุดต่ำสุดของราคาเมื่อเป็นถ้วยแนวตั้ง และเป็นยอดสูงสุดของราคาเมื่อเป็นถ้วยแบบคว่ำ จะสังเกตุเห็นได้ว่าราคาจะวิ่งทดสอบแบบเป็นวงโค้งเหมือนก้นถ้วย

  • หูจับ (Handle)

เป็นช่วงที่ราคามีการย่อตัวเล็กน้อย แล้วก็วิ่งกลับไปในแนวโน้มเดิมต่อ ไปทดสอบช่วงราคาที่ใกล้เคียงกับยอดของหูจับซ้ายมือที่เพิ่งทดสอบมานั่นเอง

Cup and Handle
ภาพลักษณะโครงสร้างของรูปแบบถ้วย (Cup and Handle)

การวัดระดับเป้าหมายที่จะไปถึงได้

การวัดระดับเป้าหมายการกลับตัวจากแนวโน้มเดิมของรูปแบบ Cup and Handle นั้น ให้ใช้เส้น Neckline แนวนอน ลากผ่านจุดหูจับ (Handle) ของรูปแบบราคา ความยาวจากฐานถ้วย (Cup Bottom) ไปถึงเส้น Neckline ระยะห่างนี่เองคือระดับเป้าหมายที่ราคาจะวิ่งไปถึงเมื่อมีการ Breakout

เส้น Neckline นี้ถือเป็นแนวต้านที่สำคัญ หากราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ในทิศทางขาขึ้นหรือขาลง รูปแบบกระทะจะถือเป็นสัญญาณการกลับตัวที่สมบูรณ์

ตัวอย่างรูปแบบ Cup and Handle

จากตัวอย่างกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าราคา XAU/USD เคลื่อนไหวในแนวโน้มขาลง จากนั้นราคาเริ่มปรับตัวขึ้นและฟอร์มตัวเป็นรูปแบบถ้วย เมื่อราคา Breakout ออกจากเส้น Neckline ในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ราคา XAU/USD ปรับตัวขึ้นต่อและทดสอบระดับเป้าหมาย

ตัวอย่างรูปแบบ Cup and Handle
เมื่อราคา Breakout เส้น Neckline ในทิศทางขาขึ้น ราคา XAU/USD วิ่งต่อไปทดสอบระดับเป้าหมาย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแม่นยำของรูปแบบถ้วย

ความแม่นยำของรูปแบบถ้วยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ความชัดเจนของรูปแบบ รูปแบบถ้วยที่มีรูปร่างชัดเจนและสมบูรณ์ จะมีความแม่นยำมากกว่ารูปแบบที่มีรูปร่างไม่ชัดเจน
  • ระยะเวลาของรูปแบบ รูปแบบถ้วยที่ใช้เวลาในการฟอร์มตัวนาน จะมีความแม่นยำมากกว่ารูปแบบที่ใช้เวลาในการฟอร์มตัวสั้น
  • ปริมาณการซื้อขาย รูปแบบถ้วยที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น จะมีความแม่นยำมากกว่ารูปแบบที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลง

รูปแบบ Cup and Handle ก็ถือเป็นรูปแบบกราฟที่มีโอกาสเกิด False Breakout ได้เช่นกัน ดังนั้นนักเทรดจึงควรใช้เครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ ร่วมประกอบการตัดสินใจในการเทรดด้วย จะดีที่สุด

Flag / Pennant รูปแบบธง

รูปแบบธง Flag ราคาของแนวรับและแนวต้านจะขนานกันในแนวนอน รูปแบบธง Pennant จะเป็นสามเหลี่ยมสมมาตร ทั้งสองจะเป็นรูปแบบกราฟที่มีลักษณะคล้ายธง รูปแบบนี้ “มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคากำลังเคลื่อนที่ในแนวโน้มเดิม แต่มีการพักตัวชั่วคราวแล้วไปต่อ” รูปแบบธงประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

  • เสาธง (Flagpole) เป็นการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงก่อนที่จะพักตัว
  • ใบธง (Flag) เป็นการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงพักตัว
Flag / Pennant
Flag / Pennant รูปแบบธง มีทั้งรูปแบบธงขาขึ้นและรูปแบบธงขาลง

การเทรดด้วยรูปแบบธง

นักลงทุนสามารถเทรดด้วยรูปแบบธงได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้การเทรดด้วยสัญญาณ Breakout เป็นการเทรดที่รอให้ราคา Breakout ออกจากใบธงก่อน จากนั้นจึงเข้าเทรดตามทิศทางการ Breakout นั้น ดังนี้

  • รูปแบบธงขาขึ้น

หากราคา Breakout ออกจากใบธงในทิศทางขาขึ้น (แนวต้าน) จะถือเป็นสัญญาณการ continuation ขาขึ้นที่แข็งแกร่ง ระดับเป้าหมายของขาขึ้นมักจะอยู่ที่ระดับความสูงของเสาธง

  • รูปแบบธงขาลง

หากราคา Breakout ออกจากใบธงในทิศทางขาลง (แนวรับ) จะถือเป็นสัญญาณการ continuation ขาลงที่แข็งแกร่ง ระดับเป้าหมายของขาลงมักจะอยู่ที่ระดับความยาวของเสาธงเช่นกัน

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบ Flag / Pennant

จากตัวอย่างกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าราคา EUR/USD เคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้น จากนั้นราคาเริ่มปรับตัวลงและฟอร์มตัวเป็นรูปแบบธงขาขึ้น เสาธงเป็นการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงขาขึ้นก่อนหน้า ใบธงเป็นการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงพักตัว

ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบธงขาขึ้น
ตัวอย่างการเทรดด้วยรูปแบบธงขาขึ้น เมื่อราคาทะลุผ่านใบธงด้านบน เราก็เทรดตามได้

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าราคา EUR/USD ออกจากใบธงในทิศทางขาขึ้น จากนั้นราคาก็ปรับตัวขึ้นต่อและทดสอบระดับเป้าหมายที่คำนวณได้จากรูปแบบธง

ทีมงาน Forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments