Forexthai.in.th ย่อให้
- Indicator Forex คือ เครื่องมือชี้วัดที่ใช้ราคาย้อนหลังมาคำนวณ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเทรด
- การใช้ Indicator หลายตัวเกินไป จะทำให้เกิดสัญญาณซ้ำซ้อน และเกิดความสับสน
- Indicator ยอดนิยม ได้แก่ EMA, Bollinger Bands, Stochastic, MACD และ RSI
- การเลือกใช้ Indicator ควรสอดคล้องกับสไตล์การเทรด เช่น กรอบเวลา ความถี่ในการเปิดออเดอร์ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- ควรศึกษาวิธีการใช้งานและทดสอบ Indicator ให้ดีก่อนนำไปใช้จริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด
Indicator Forex ที่นักเทรดจำเป็นต้องรู้ มีไม่ต้องมากครับ เน้น ๆแต่ตัวที่เรารู้จริง รู้ลึก และชำนาญ เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า อินดี้ ก่อนอื่นผมขอ อธิบายความหมายของเจ้า อินดิเคเตอร์นี้ก่อนว่าคืออะไร ซึ่งมันก็คือ “เครื่องมือชี้วัด” โดยการนำเอา “ราคาคู่เงินย้อนหลัง” มาคำนวณตามรูปแบบหรือตามสูตรต่าง ๆ ของ indicator แต่ละตัว เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในการเข้าเทรด
ควรใช้ Indicator ที่ตัว Trader เองถนัดและที่สำคัญ “อย่าใช้เยอะ” เพราะจะเกิดการสับสนของสัญญาณได้ เพราะฉะนั้นการที่ใช้ Indicator ไม่ได้แปลว่าเราคือมืออาชีพ แต่นั่นอาจจะแสดงถึงการไม่แน่ใจใน Indicator ตัวใดตัวหนึ่ง โดยปกติจะใช้อยู่ที่ราว 3 – 4 ตัว ก็ถือว่าเยอะสำหรับ การเทรด Forex แล้วครับ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
Indicator มีประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยบอกเทรนด์ (trend) หรือแนวโน้มหลักว่าเป็นไปในทิศทางใด
- สามารถบอกสัญญาณซื้อหรือขายได้ พร้อมทั้งบอกจุดที่เราจะทำการปิดคำสั่งซื้อขาย ตามเงื่อนไขที่เราได้ตั้งขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงในจุดเข้าซื้อขาย เพิ่มกำไรในออเดอร์
indicator ที่ดีที่สุดจะเป็น “อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมกับสไตล์การเทรด” ดังนั้นมันจึงไม่มีหรอกอินดี้ที่ดีที่สุดบน Forex มีแต่ตัวที่เหมาะกับสไตล์การเทรดโดยรวมและครอบคลุม แต่มีสิ่งที่ดีก็คือ มีอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคบน Forex มีให้เลือกอยู่อย่างหลายรูปแบบ ดังนั้น จึงไม่ยากเลยที่เราจะสามารถหาอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง
indicator forex ยอดนิยม
อินดิเคเตอร์นั้นมีหลากหลายให้ได้เลือกกัน มีทั้งที่วัด ‘ราคาเปิด สูง-ต่ำ’, ‘ราคาปิด’ และ ‘ปริมาณ’ จึงเป็นเหตุผลที่เราอยากแนะนำให้เริ่มด้วย อินดิเคเตอร์การซื้อขาย Forex ที่ง่ายก่อน ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมอินดิเคเตอร์ต่างๆ ที่ดี และเป็นที่นิยมของบรรดาเทรดเดอร์ รวมทั้งบอกถึงข้อดีและข้อด้อยของแต่ละอินดิเคเตอร์ไว้ให้แล้ว งั้นเรามาเริ่มดูอินดิเคเตอร์ประเภทต่าง ๆ กันเลย
Indicator: EMA
จัดเป็นอินดี้ในกลุ่มที่เป็น “ค่าเฉลี่ยของราคา” หมวด Moving Average ประโยชน์ของ EMA คือ
- ใช้ดูแนวรับแนวต้านได้
- ใช้เพื่อดูแนวโน้ม
- ใช้คอนเฟิร์ม สัญญาณการเข้าออก
นับได้ว่าเป็น “อินดิเคเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับ Forex” มีการคำนวณความแตกต่างระหว่าง EMA ที่เร็วขึ้น และ EMA ที่ช้าลง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่อยู่เบื้องหลังของอินดิเคเตอร์นี้ โดยที่อินดิเคเตอร์จะแปลงข้อมูลมาเป็นกราฟราคา 2 เส้น เพื่อให้เราทราบแนวโน้ม
EMA 14.34 จัดได้ว่าเป็นค่าเฉลี่ย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพอสมควร แต่ก็จะมีตัวที่ใช้กันบ่อย ๆ เช่น EMA 50, EMA100, EMA200 โดยใช้เป็นตัวระบุเทรนด์ของกราฟ เช่น ราคาอยู่ต่ำกว่า EMA100 หรือ EMA200 ถือว่าเป็น “เทรนด์ขาลง”
- แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) ก็ต่อเมื่อ “ราคาได้อยู่บนเส้น EMA ทุกเส้น” และ “ราคาปิดสามารถอยู่เหนือ EMA”
- แนวโน้มขาลง (Down Trend) ก็ต่อเมื่อ “ราคาอยู่ใต้เส้น EMA ทุกเส้น” และ “ราคาปิดสามารถอยู่ใต้เส้น EMA”
และการดูแนวโน้มควรดูที่ TF H4 ขึ้นไป จะมีโอกาสโดนหลอกน้อยกว่าครับ
แล้วเส้น EMA ใช้กี่วันดีที่สุด? ไม่สามารถฟันธงหรือตอบให้เคลียร์จบตรงประเด็นได้ว่าใช้กี่วันดีที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของเทรดที่ต่างกัน แต่หลักการสำหรับการเลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยนั้น จะช่วยอ่านแนวโน้มทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ได้ ดังนั้น ผมเลยแบ่งเส้นค่าเฉลี่ยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ครับ
1.EMA ระยะสั้น
- เส้นแนวโน้มที่นิยมใช้ 5-10 วัน ซึ่งจะช่วยบอกการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มแบบระยะสั้นมากๆ
- เหมาะกับคนที่มีเวลาเฝ้าหน้าจอ อย่างนักลงทุนแบบ Day Trade
- หรืออาจจะใช้แบบช้าลงหน่อยเป็น 20 หรือ 25 วัน ก็ได้ครับ จะช่วยลดความผันผวนและเห็นแนวโน้มชัดเจนขึ้น
2.EMA ระยะกลาง
- เส้นแนวโน้มหลักในภาพที่กว้างขึ้น
- เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาดูจอทั้งวัน อย่างนักลงทุนแบบ Trend Follower
- เส้นที่นิยมที่สุด คือ 50 วัน ตามด้วย 75 และ 100 วัน
3.EMA ระยะยาว
- เป็นเส้นแสดงแนวโน้มการเคลื่อนไหวรอบใหญ่หลักเดือนและปี
- บอกสภาวะของแนวโน้มขาขึ้นและขาลงอย่างชัดเจน
- เส้นที่นิยมใช้มากที่สุด คือ 200 วัน
อ่านเทคนิคการใช้งาน EMA แบบละเอียด ได้ที่นี่
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ... Review Broker Forex
Indicator: Bollinger Band
จัดเป็น indicator ที่คล้าย ๆ กับ Moving Average และ “เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัด Volatility (ความผันผวน)”
- ถ้าตลาดมี Volatility ต่ำ Bollinger Bands ก็จะถูกบีบแคบ
- เมื่อตลาดมี Volatility สูง Bollinger Bands ก็จะขยายกว้างขึ้น
ซึ่งเราสามารถมองเห็นเส้น Bollinger Bands ได้อย่างชัดเจน โดย Bollinger Bands จะมีเส้นด้านบนและเส้นด้านล่างเป็นหลัก ส่วนเส้นตรงกลางระหว่างเส้นบนและเส้นล่างจะเป็นเส้น 21 Moving Average (เป็นค่าเริ่มต้น)
มาดูกันว่า เจ้า indicator forex : Bollinger Bands อย่างคร่าว ๆ ก่อนนะครับ ว่าใช้อะไรได้บ้าง
1.ใช้ในการหาแนวต้านและแนวรับของกราฟ: เส้นขอบบนทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ส่วนเส้นที่ 2 คือเส้นขอบกลางทำหน้าที่เป็นทั้งแนวต้านและแนวรับ เส้นขอบล่างทำหน้าที่เป็นแนวรับ
2.ใช้ในการหาแนวโน้มของกราฟราคา:
- แนวโน้มขาลง ลักษณะของแนวโน้มขาลง คือ ราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่างและไม่ค่อยจะขึ้นไปทะลุเส้นขอบกลางไปได้ หรือ อาจจะขึ้นไปทะลุเส้นขอบกลางไปได้แต่ก็อาจจะกลับมาที่เส้นขอบล่าง
- แนวโน้มขาขึ้น ลักษณะของแนวโน้มขาขึ้น คือ ราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบนและไม่ค่อยจะตกลงมาทะลุเส้นขอบกลางไปได้หรือ อาจจะตกลงมาทะลุเส้นขอบกลางไปได้แต่ก็อาจจะกลับมาที่เส้นขอบบน
3. ใช้เป็นสัญญาณเตือนเมื่อตลาดเข้าสู่สถานะ Overbought และ Oversold:
- Overbought (ซื้อมากเกินไป) Bollinger Bands จะบีบตัวแคบ
- Oversold (ขายมากเกินไป) Bollinger Bands จะกว้าง
การใช้ Bollinger Bands คู่กับ Indicator Forex อื่น
Bollinger Bands นั้นสามารถใช้ร่วมกับ Indicators ตัวอื่น ๆ เช่น Relative Strength Index (RSI) และ MACD ได้ แต่ก่อนที่จะนำ Indicators 2 ตัวข้างต้นมาใช้ร่วมกับ Bollinger Bands แนะนำว่าให้ทำ Back-test เสียก่อนนะครับ ซึ่งถ้าทำ Back-test แล้วจะเห็นว่ามีเสถียรภาพในการใช้งานพอสมควร
อ่านเทคนิคการใช้งาน Bollinger Bands แบบละเอียด ได้ที่นี่
Indicator: Stochastic
เป็น indicator Forex ชนิด Oscillator (ซึ่งคำนี้มันก็แปลว่า การแกว่งไปแกว่งมานั่นเอง) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในแง่ของลักษณะที่เกิดขึ้นในวิธีของอินดิเคเตอร์แบบอื่นที่มีแนวโน้มแบบแกว่งไปแกว่งมาได้ ซึ่ง Stochastic Oscillator จะคล้ายกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ที่ช่วยในการระบุ “โซนที่มีการซื้อเกิน (overbought) หรือ ขายเกิน (oversold) ผ่านการวัดโมเมนตัม”
โดยการวัดค่าของ Stochastic จะอยู่ในช่วง 0-100 จะแบ่งได้ 2 โซนดังภาพ คือ โซน 0-20 และ โซน 80-100 (ค่ามาตรฐาน)
-
- โซน 0-20 เรียกว่าโซนขายมาก (Over Sold)
- โซน 80-100 เรียกว่าโซนซื้อมาก (Over Bought)
ใช้งานได้ดีในภาวะที่ตลาดเป็น Side Way ลักษณะของอินดี้ตัวนี้ จะมีความเร็วพอ ๆ กับราคา ทำให้เรามองกราฟได้ง่าย ๆ ว่าช่วงไหนที่ราคามีการซื้อเยอะ หรือช่วงไหนที่ราคามีการเทขายเยอะในตลาด และ Stochastic Oscillator ไม่เหมาะกับตลาดที่เป็นเทรนด์
สำหรับในสภาพที่กราฟ Sideway จะกลับตัวที่โซน 10-25 และ 75-90 ยกตัวอย่างในคู่เงิน EUR/USD ช่วง Sideway ใช้ได้ดีใน TF 5 นาที และถ้าใช้ Stochastic เทรดในช่วง Sideway ให้เตรียมรองอีกสัก 2-3 ไม้ เผื่อโดนลาก
**Super STO ( Super overbought/super oversold) จะอยู่ในโซน 0-10 และ 90-100 สามารถใช้ได้ “ในช่วง Trend” ถ้าเข้า Super STO จะแสดงว่า ยังไปต่อได้อีก..
Indicator: MACD
จัดได้ว่าเป็น อินดี้ตัวต้น ๆ ตัว TOP ที่นักเทรดใช้งานกันเลย ย่อมาจาก Moving Average Convergence Divergence ตัวนี้ทำงานแบบวิ่งในกรอบ บอกสถานะ Over Bought/Over sold และทำงานร่วมกับ เส้น Moving Average
ปกติแล้วเส้น MACD จะคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) สองเส้นมาคำนวณ
- เส้นแรกคือ EMA 26 วัน (ค่าเฉลี่ยช้า)
- เส้นที่สองคือ EMA 12 วัน (ค่าเฉลี่ยเร็ว)
- MACD Line คือผลต่างระหว่างสองเส้น (EMA 26 – EMA12)
- Signal Line คือ EMA 9 วันของ MACD Line จะถูกพล็อตจุดเป็นเส้นสัญญาณแนวโน้ม
- เมื่อ MACD Line ตัดลงต่ำกว่า Signal Line = สัญญาณขาย
- เมื่อ MACD Line ตัดขึ้นเหนือ Signal Line = สัญญาณซื้อ
สามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ทั้งสาม (26, 12 และ 9) ตามที่ต้องการ เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ การดำเนินของอินดิเคเตอร์จะช่วยให้การค้นหาการตั้งค่าที่เหมาะสมที่สุด
เราสามารถนำไปใช้งานเพื่อทำกำไรได้ใน 3 รูปแบบด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- ทำการซื้อขายเมื่อแท่ง MACD Histogram ตัดที่เส้น 0.0 หรือหลักง่ายๆ คือให้มองว่าเส้น 0.0 คือผิวน้ำ และแท่ง MACD Histogram เป็นภูเขา เราจะสังเกตุดังนี้คือหาก MACD Histogram กำลังขึ้นเป็นลักษณะอยู่เหนือน้ำเราจะทำการ Buy แต่ในทางกลับกัน คือถ้า MACD Histogram กำลังลงสู่ใต้น้ำ เราจะทำการ Sell
- รอให้เส้น Signal Line (เส้นสีแดง) และ Moving Average (เส้นสีน้ำเงิน) ตัดกันได้สักพักหนึ่ง จึงทำการซื้อขาย เราจะไม่ทำการซื้อขายทันทีที่ทั้งสองเส้นตัดกัน โดยหลักการดูก็คือ ณ จุดตัด ถ้าเส้น Signal Line มีทิศทางลงให้ทำการ Buy แต่ในทางกลับกันคือ ถ้ามีทิศทางขึ้นให้ทำการ Sell
อ่านเทคนิคการใช้งาน MACD แบบละเอียด ได้ที่นี่
Indicator: Relative Strength Index (RSI)
RSI จัดว่าเป็น indicator ประเภท Momentum oscillator ยอดนิยมตัวหนึ่งเลย โดยหลักการแล้วมันเอาไว้ใช้เพื่อวัดความเร็วและขนาดของการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่ง indicator ตัวนี้ได้รับพัฒนาจากคุณ J.Wellws Wilder Jr.
RSI จะแกว่งอยู่ในกรอบ 0 ถึง 100 เพื่อสามารถอ้างอิงกับจุดกลับตัวของราคาได้ โดยปกติทั่วไปแล้ว จะตั้งค่าการคำนวณจากกำไร/ขาดทุนโดยเฉลี่ยของค่าเงินในช่วงเวลาที่กำหนด (ที่ของตัวเลข 14 ตอนที่เปิด indicator นั่นแหละ)
วิธีการใช้ RSI ทั่วไปมักนิยมตั้งค่า “เพดานบนเอาไว้ที่ 70″ และ “เพดานล่างเอาไว้ที่ 30” เพื่อบอกภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) และการขายมากเกินไป (Oversold) ตามลำดับ หากเส้นราคาวิ่งเกินเพดานไปแล้วบ่งบอกได้ว่า “กำลังจะมีการกลับตัวของกราฟในไม่ช้า”
ปัจจุบัน RSI นิยมใช้ควบคู่กับอีกหลาย ๆ indicators เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเทรด ไม่ว่าจะเป็น MACD, CCI, EMA เป็นต้น
อ่านเทคนิคการใช้งาน RSI แบบละเอียด ได้ที่นี่
วิธีเลือกใช้ Indicator ให้เหมาะสมกับสไตล์เทรด
อย่างที่บอกไปตอนต้นครับว่า การเลือกใช้ Indicator ให้เหมาะสมกับสไตล์เทรดเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของเรา โดยต้องเลือกให้สอดคล้องกับ
- กรอบเวลา (Time Frame) ที่เทรด
- ความถี่ในการเปิดออเดอร์
- ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ยกตัวอย่างเช่น
- สำหรับสายเทรดสั้น (Scalper) ที่เน้นเปิดออเดอร์บ่อยๆ บนกราฟ M1, M5, M15 ควรเลือกใช้ Indicator ที่ให้สัญญาณเร็ว ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา เช่น Stochastic, MACD
- สายเทรดระยะกลาง (Swing Trader) ที่เทรดบนกราฟ H1, H4 อาจเลือกใช้ Indicator อย่าง MA, Bollinger Bands เพื่อดูแนวโน้มตลาด
นอกจากนี้ เราไม่ควรใช้ Indicator ที่ให้สัญญาณคล้ายกันมากเกินไป เยอะเกินไป เพราะจะทำให้เกิดสัญญาณซ้ำซ้อน สับสน ควรเลือกใช้ Indicator ให้หลากหลาย เช่น ใช้ Oscillator อย่าง RSI คู่กับ Trend Indicator อย่าง MA เป็นต้น และที่สำคัญคือ ต้องศึกษาวิธีการตั้งค่าและอ่านสัญญาณของ Indicator แต่ละตัวให้เข้าใจดีก่อนด้วย
ตารางสรุปเปรียบเทียบ Indicator Forex
Indicator | ข้อดี | ข้อเสีย | สไตล์การเทรดที่เหมาะสม |
---|---|---|---|
EMA (Exponential Moving Average) |
|
|
|
Bollinger Bands |
|
|
|
Stochastic |
|
|
|
MACD (Moving Average Convergence Divergence) |
|
|
|
RSI (Relative Strength Index) |
|
|
|
สรุป
ทั้งหมดนี้คือการแนะนำให้รู้จักกับ Indicator forex เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ รวมทั้งการใช้เพื่อวางแผนลงทุนเบื้องต้น ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำไปทดลองใช้และปรับประยุกต์ตามความต้องการได้เลย
ปัจจุบันเทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านก็หันมาสนใจการสร้าง EA Forex กันมากขึ้น เพราะมันสามารถทำงานให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่บ่น ไม่เหนื่อย และที่สำคัญพวกเขามักนำ indicator เหล่านี้แหละครับมาสร้าง EA Forex อย่างง่าย
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex
ทีมงาน: forexthai.in.th