FBS เป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย โบรกเกอร์นี้ได้มีทำกิจกรรมทางการตลาดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะมีพาร์ทเนอร์คนไทยเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เป็นที่รู้จักอย่างมากสำหรับประเทศไทย แม้ว่าปัจจุบันความนิยมจะตกๆไปบ้าง เพราะมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ความปลอดภัยคือจุดเด่นของ โบรกเกอร์ FBS
ปัจจุบันมีโบรกเกอร์ Forex มากมายให้เลือก และต่างก็มีข้อเสนอในการเทรดแตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Leverage ที่สูง การแข่งขันด้าน spread หรือแม้กระทั่งเงื่อนไขของโบนัสที่ให้ ซึ่งในด้านความปลอดภัยแล้ว โบรกเกอร์ FBS ติดอันดับด้านความปลอดภัยในลำดับต้นๆ
FBS ได้ให้บริการเทรด Forex และ CFDs สำหรับเทรดเดอร์ทั่วโลก มีประเภทบัญชีหลากหลายสำหรับเทรดเดอร์ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นขึ้นไปด้วยบัญชีแบบ Cent ที่เริ่มฝากเทรดตั้งแต่ 1 ดอลลาร์ จนไปถึงขั้นระดับเทรดเดอร์มืออาชีพด้วยบัญชี ECN มีกิจกรรมและโปรโมชั่นสำหรับเทรดเดอร์มากมายและต่อเนื่อง โดยเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นเพื่อทำการขยายตลาด
* การเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่ตรงกับความต้องการ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เข้ากับสไตล์การเทรดของแต่ละเทรดเดอร์ ซึ่งในเรื่องความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ อันจะส่งผลต่อความปลอดภัยทางการเงินของ Trader ก็เป็นปัจจัยหลักที่ควรคิดถึง
โบรกเกอร์ FBS คืออะไร
โบรกเกอร์ FBS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 ในเบลีช มีสำนักงานในประเทศจีน มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย จอร์แดน เวียดนาม และรัสเชีย ให้บริการเทรด Forex CFDs, stocks, metals และ crypto ด้วยแพลตฟอร์ม Metatrader 4/5 หน้าเว็บไซต์มี 16 ภาษา มีเทรดเดอร์กว่า 23 ล้านคน และมีพาร์ทเนอร์กว่า 410,000 รายจากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก
โบรกเกอร์ FBS ใช้รูปแบบโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่เป็นแบบผสมระหว่าง STP (Straight Through Processiing) และ ECN (Electronic Communications Network) ไม่มี NDD (No Dealing Desk) เพราะทางโบรกเกอร์ต้องการทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าออเดอร์ที่เปิด หรือ Order ที่จัดการ ได้ส่งตรงไปที่ผู้ให้บริการ liquidityเพราะจะทำให้ลูกค้าได้ราคาตลาดจริง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ requotes เมื่อเปิดเทรด ซึ่งจากประสบการที่เทรดโบรกนี้มาก็ไม่เคยเจอรีโควตจริงๆ โบรกเกอร์ FBS ได้รับใบอนุญาตการดำเนินจาก IFSC และ CySEC
ข้อดีของโบรกเกอร์ FBS
- ส่วนของเว็บ FBS ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ใช้งานง่าย ตลอดจนบริการ Live support ก็ตอบคำถามและช่วยแก้ปัญหาได้ดี
- ให้ Leverage ถึง 1:3000 ในบัญชี MICRO, STANDARD และ ZERO SPREAD จึงเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้ประโยชน์จากเรื่อง leverage เป็น เพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากขึ้นในการเทรดจากทุนน้อยๆได้ (แต่แนะนำใช้แค่มาตรฐาน 1:100-1:200 ก็พอครับ ออกไม้ได้มากอาจได้กำไรมากก็จริง แต่ก็แปลว่าเสียได้มากเช่นกันครับ)
- การเปิดเทรดหรือจัดการออเดอร์ของ FBS อยู่ในเกณฑ์เร็ว โดยบัญชีที่เทรดลื่นไหลที่สุดคือบัญชี “STANDARD”
- เปิดบัญชีเดโมได้ทุกประเภทบัญชี: ให้ลูกค้าสามารถทดสอบกลยุทธ์เทรดในแต่ละบัญชีได้ แต่ก็อย่างว่า เทรดเดโมนั้น กราฟและอะไรอื่นๆมันก็เอื้อให้ได้กำไรเสมอๆ เป็นทุกโบรกครับ ดังนั้นถ้าจะลองเทรดให้ลองเทรดด้วยบัญชี CENT (FBS ไม่แนะนำบัญชี MICRO เนื่องจาก เปิด-ปิดออร์เดอร์ช้าที่สุดในทุกๆบัญชี โดยเฉพาะการปิดจะช้ามาก จะช้าประมาณ 2-3 วินาที เมื่อเทรดช่วงข่าว)
- การการฝาก-ถอนเร็ว ฝากได้ทันที ถอนไม่เกิน 2 ชั่วโมง
- สำหรับคนไทยสามารถฝากถอนผ่านธนาคารออนไลน์ในประเทศได้เลย โดยมีให้เลือกหลายช่องทางมาก ดังรูปด้านล่าง
- การฝากถอนมีค่าธรรมเนียม:FBS เรทฝากถอนโหดครับ ประมาณ – 6 % ถือว่าแพงเอาเรื่องครับ ที่รับได้ก็คือ – 1 % หรือฟรี ถ้าแพงกว่านี้ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆร่วมในการตัดสินใจด้วย ไม่งั้นเทรดได้มาก็เสียค่าธรรมเนียมฝากถอนหมดครับ
- สินค้าให้เทรดบางบัญชีมีจำกัด:ตัวอย่างเช่น FBS บัญชี ECN มีให้เทรดแค่ฟอเรกซ์จำนวน 25 คู่เงินเอง อย่างอื่นไม่มีเลย และไม่มีคู่ทอง XAUUSD แต่เอาเข้าจริงๆการเทรด Forex ถ้าไม่ใช้ EA ในการเทรดนั้น แค่ค่าคู่เงินหลักก็น่าจะพอสำหรับการเทรดมือแล้ว ดังนั้นเรื่องนี้อาจไม่ใช่ข้อเสียอะไรมากสำหรับบางท่าน
- บัญชี FBS เมื่อไม่มีความเคลื่อนไหวในบัญชีเทรดเกิน 90 วัน บัญชีเทรดจะถูกจัดเก็บอัตโนมัติ (แต่ก็เป็นเกือบทุกโบรกอยู่แล้ว)
ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ FBS
โบรกเกอร์ FBS มีการรายงานที่เว็บไซต์หลักว่า มีเทรดเดอร์กว่า 23 ล้านคน และมีพาร์ทเนอร์กว่า 410,000 รายจากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก มีการเปิดออเดอร์ประมาณ 1,730 ล้านออร์เดอร์ โดยในประเทศไทยมีกิจกรรมให้ความรู้และดูแลคนไทยต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ที่เข้ามาทำตลาดมีพารทเนอร์หรือไอบีที่เป็นชาวไทยมากมายที่ช่วยกันผลักดันตลาด
อีกทั้งมีพารทเนอร์หรือไอบีที่เป็นชาวไทยมากมายที่ช่วยกันผลักดันตลาด อีกทั้งมีช่องทางการฝากถอนมากมายที่ใช้กับธนาคารไทยได้เลย บอกได้ถึงความน่าเชื่อถือในประเทศเป็นอย่างดี คือไม่ปิดโบรกหนีง่ายๆแน่นอน พร้อมทั้งโบรกเกอร์เองก็ได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจทั้งจาก IFSC และ CySEC
การจดทะเบียนองค์กรควบคุมของโบรกเกอร์ FBS
- ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) ของไซปรัส
- ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก IFSC (International Financial Services Commission) ของเบลีซ
- ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ของออสเตรเลีย
ค่าบริการการซื้อขายกับ FBS (สเปรด คอมมิชชั่น)
หลักการของการคิดค่าบริการการเทรด Forex
วิธีการดูต้นทุนการเทรดก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ารายได้ของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์มาจากไหน รายได้หลักๆ ของโบรกเกอร์มาจาก ต้นทุนการเทรดหรือ trading transactions และมีการแต่งสเปรดประกอบด้วย ดังนั้น
- ค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเทรดอาจเอารวมไปที่จุดเดียวกับสเปรดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่วิธีการของโบรกเกอร์
- เลยทำให้เกิดบัญชีเทรดแบบไม่มีค่าคอมมิชชั่น และแบบมีค่าคอมมิชชั่น ส่วนมากที่มีค่าคอมมิชชั่นก็ได้ราคาจากตลาดหรือ liquidity providers โดยตรงทำให้สเปรดน้อย
- SWAP: คือต้นทุนอีกอย่างที่เทรดเดอร์ต้องแบกรับเองสำหรับทุกประเภทบัญชี ถ้ามีการถือออเดอร์ข้ามวันเป็นค่า SWAP ถ้าไม่ใช่บัญชี SWAP-Free
การคิดค่าบริการของแต่ละบัญชี
โดยที่โบรกเกอร์ FBS ได้คิดค่าบริการ ตามการแบ่งประเภทบัญชี ดังนี้
- บัญชี Centเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่เพิ่งเริ่มเทรด สเปรดเริ่มที่ 1 pip
- บัญชี Microแบบ Fixed spread เริ่มที่ 3 pip แล้วแต่คู่เงิน
- บัญชี Standardรวมต้นทุนการเทรดมาอยู่ที่จุดเดียวคือสเปรด เริ่มต้นที่ 5 pip
- บัญชี Zero Spreadแม้สเปรดเป็น 0 แต่ต้นทุนการเทรดไปตกอยู่ที่ค่าคอมมิชชั่น เริ่มต้นที่ 20 ดอลลาร์ต่อ 1 Lot
- บัญชี ECN สเปรดน้อย (ผันผวนตามราคาตลาด) ต้นทุนไปตกอยู่ที่ค่าคอมมิชชั่น อยู่ที่ 6 $/Lot
- บัญชี CRYPTO ค่าสเปรดลอยตัวตั้งแต่ 1 pip ค่าคอมมิชชัน 05% + 0.05% = 0.1 % สำหรับการเปิด-ปิด
วิเคราะห์ภาพรวมค่าบริการของ FBS แต่ละบัญชี
- โดยบัญชีCent, Micro, Standard จะไม่มีค่าคอมมิชชั่น เพราะต้นทุนการเทรดจะไปรวมอยู่ที่สเปรดทั้งหมด เริ่มที่ 1 pip สำหรับ Cent, 3 pip สำหรับ Micro และ 5 pip สำหรับ Standard
- ส่วนบัญชี Zero Spread แม้จะมีการกำหนดแบบล็อคสเปรดที่ 0 pip แต่พอมาดูต้นทุนคือตั้งแต่ 20 ดอลลาร์ต่อล็อต ตรงส่วนที่เป็นค่าคอมมิชชั่นถือว่าค่อนข้างสูง
- ขณะที่บัญชี ECN แม้ leverage สูงสุดแค่ 500 แต่ต้นทุนการเทรดอยู่แค่ 6 ดอลลาร์ต่อลอต เมื่อเทรดเทียบกับ Zero Spread ที่เปิดล็อต 00
- Zero Spread แม้ว่าสเปรดที่เห็นจะเป็น 0 ก็จริงแต่ค่าคอมมิชชั่นกลับสูง ตัวอย่างเช่น กรณีการเปิดเทรดฟอเร็กซ์เทียบกับบัญชีECN เมื่อเปิดคู่เงินเดียวกัน ล็อตเท่ากัน กลับกลายเป็นว่ามีต้นทุนการเทรดที่สูงกว่าบัญชี ECN มาก (เช่น EURUSD เปิดที่ 00 ต้นทุนบัญชี Zero อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อออเดอร์ ขณะที่ต้นทุนของบัญชี ECN อยู่ที่ 6 ดอลลาร์ต่อออเดอร์ + ต้นทุนที่มาจากสเปรดเท่านั้นเอง)
สรุปจะเลือกบัญชีเทรด FBS ไหนดี
* เมื่อคิดในแง่ค่าบริการ จากที่เทรดจริงเปรียบเทียบทุกบัญชีพบว่า เมื่อคิดค่าบริการโดยรวมจาก สเปรด + คอมมิชชั่น บัญชีที่ถูกที่สุดคือ “บัญชี ECN” แถมยังได้ภาษีดีตรงที่ส่งเข้าตลาดโดยตรงอีกด้วย แต่อาจเป็นที่คนใช้เยอะหรือ sever ไม่ค่อยดี การเทรดกลับไม่ลื่นไหลเท่าบัญชี Standard
โบนัสของ FBS
FBS เป็นโบรกหนึ่งที่มีโบนัสให้อย่างต่อเนื่อง เช่น โบนัส 100% ของจำนวนเงินฝาก ฝากเท่าไรเพิ่มให้อีก 100% เอาไว้ทนลาก ช่วยให้บริหารพอร์ตได้ง่ายขึ้น แต่เวลาถอนเงินโบนัสพวกนี้จะหายไป ข้อดีคือผลกำไรที่ทำได้จากการเทรดของเราก็จะได้มา อย่างคนที่ใช้เทคนิคเทรดแบบออกไม้เยอะหรือเทรดติด DD เยอะต้องการการทนลากสูงก็อาจจะชอบ และเลือกใช้บริการโบนัสนี้
บทสรุป รีวิว FBS
FBS เป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่รู้จักกันดีในประเทศไทย เพราะมีพาร์ทเนอร์เข้าร่วมเยอะช่วยกันขยายฐานลูกค้า มีโปรโมชั่นต่อเนื่อง ขั้นตอนในการเปิดบัญชีเทรดก็ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ประเภทบัญชียังได้ออกแบบสำหรับเทรดเดอร์ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นด้วยบัญชี Cent และ Micro และใช้แพลตฟอร์มสำหรับเทรดที่เป็นที่นิยมสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยคือ Metatrader 4 และ 5
แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องสินค้าที่ให้เทรดยังมีจำนวนจำกัด และยิ่งบางประเภทบัญชีเช่น ECN จำกัดให้เทรดได้แค่ 25 คู่เงินเท่านั้น
* ซึ่งบัญชีที่แนะนำให้เทรด โดยดูจากค่าบริการรวมที่ถูกสุด การเทรดลื่นสุด และอื่นๆ แนะนำ ECN กับ Standard ครับ
เรื่องฝาก-ถอนถือได้ว่าง่ายมาก เพราะสามารถฝาก-ถอนผ่านธนาคารไทยออนไลน์ได้เลย และใช้ระยะเวลาในการฝากถอนเร็ว ฝากได้ทันที ถอนไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ทีมงาน: forexthai.in.th