FBS คือ โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย โบรกเกอร์นี้ได้มีการรุกและทำกิจกรรมทางการตลาดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะมีพาร์ทเนอร์คนไทยเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เป็นที่รู้จักอย่างมากสำหรับประเทศไทย
ปัจจุบันมีโบรกเกอร์ Forex มากมายให้เลือก และต่างก็มีข้อเสนอในการเทรดแตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าในการเทรดฟอเร็กซ์หรือแม้กระทั่งเงื่อนไขของโบนัสที่ให้ การเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่ตรงกับความต้องการเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เข้ากับสไตล์การเทรดของแต่ละเทรดเดอร์ รวมถึงความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์เพื่อความปลอดภัยทางการเงิน

FBS ได้ให้บริการให้เทรด Forex และ CFDs สำหรับเทรดเดอร์ มีประเภทบัญชีหลากหลายสำหรับเทรดเดอร์ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นขึ้นไปด้วยบัญชีแบบ Cent ที่เริ่มฝากเทรดตั้งแต่ 1 ดอลลาร์ จนไปถึงขั้นระดับเทรดเดอร์มืออาชีพด้วยบัญชี ECN มีกิจกรรมและโปรโมชั่นสำหรับเทรดเดอร์มากมายและต่อเนื่อง โดยเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นเพื่อทำการขยายตลาด
FBS คืออะไร
โบรกเกอร์ FBS ตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 ในเบลีช มีสำนักงานในประเทศจีน มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย จอร์แดน เวียดนาม และรัสเชีย ให้บริการเทรด Forex CFDs, stocks และ metals ด้วยแพลตฟอร์ม Metatrader 4/5 หน้าเว็บไซต์มี 18 ภาษา มีเทรดเดอร์กว่า 13 ล้านคน และมีพาร์ทเนอร์กว่า 170,000 รายจากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก
โบรกเกอร์ FBS ใช้รูปแบบโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่เป็นแบบผสมระหว่าง STP (Straight Through Processiing) และ ECN (Electronic Communications Network) ไม่มี NDD (No Dealing Desk) เพราะทางโบรกเกอร์ต้องการทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าออเดอร์ที่เปิดหรือจัดการส่งตรงไปที่ผู้ให้บริการ liquidity เพราะจะทำให้ลูกค้าได้ราคาตลาดจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ requotes เมื่อเปิดเทรด โบรกเกอร์ FBS ได้รับใบอนุญาตดำเนินจาก IFSC และ CySEC

ข้อดีของโบรกเกอร์ FBS
- ให้ Leverage ถึง 3000: เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้ประโยชน์จากเรื่อง leverage เป็น เพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากขึ้นในการเทรดจากทุนน้อยได้
- การเปิดเทรดหรือจัดการออเดอร์เร็ว
- เปิดบัญชีเดโมได้ทุกประเภทบัญชี: ให้ลูกค้าสามารถทดสอบกลยุทธ์เทรดในแต่ละบัญชีได้
- สำหรับคนไทยสามารถฝากถอนผ่านธนาคารออนไลน์ในประเทศได้เลย โดยมีให้เลือกมากถึง 9 ธนาคาร

ข้อเสียของโบรกเกอร์ FBS
- การฝากถอนมีค่าธรรมเนียม: โดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะกำหนดขั้นต่ำไว้ แต่ถ้าเกินจากขั้นต่ำก็ไม่ต้องคิดค่าธรรมเนียม
- สินค้าให้เทรดมีจำกัด: ตัวอย่างเช่น บัญชี ECN มีให้เทรดแค่ฟอเรกจำนวน 25 คู่เงินเองอย่างอื่นไม่มีเลย
- Leverage สูงไปถึง 3000: บางเทรดเดอร์อาจไม่ชอบเพราะเป็นการเสี่ยงมากเกินไป (แต่การใช้ leverage ที่ดี ต้องเข้าใจออเดอร์ที่เปิดด้วยว่าเทรดอย่างไร)
ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ FBS
โบรกเกอร์ FBS รายงานที่เว็บไซต์หลักว่ามีเทรดเดอร์กว่า 13 ล้านคน และมีพาร์ทเนอร์กว่า 170,000 รายจากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีกิจกรรมให้ความรู้และดูแล้วคนไทยต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ที่เข้ามาทำตลาด มีพารทเนอร์หรือไอบีที่เป็นชาวไทยมากมายที่ช่วยกันผลักดันตลาด อีกทั้งมีช่องทางการฝากถอนมากมายที่ใช้กับธนาคารไทยได้เลย บอกได้ถึงความน่าเชื่อถือในประเทศเป็นอย่างดี พร้อมทั้งโบรกเกอร์เองก็ได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการธุรกิจทั้งจาก IFSC และ CySEC
การจดทะเบียนองค์กรควบคุมของโบรกเกอร์ FBS
- ได้รับใบอนุญาตดำเนิการจาก CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) ของไซปรัส
- ได้รับใบอนุญาตดำเนิการจาก IFSC (International Financial Services Commission) ของเบลีซ
เกี่ยวกับค่าบริการการซื้อขายกับ FBS (สเปรด คอมมิชชั่น)
วิธีการดูต้นทุนการเทรดก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ารายได้ของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์มาจากไหน รายได้หลักๆ ของโบรกเกอร์มาจาก ต้นทุนการเทรดหรือ trading transactions และมีการแต่งสเปรดประกอบด้วย ดังนั้นค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเทรดอาจเอารวมไปที่จุดเดียวกับสเปรดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่วิธีการของโบรกเกอร์
เลยทำให้เกิดบัญชีเทรดแบบไม่มีค่าคอมมิชชั่น และแบบมีค่าคอมมิชชั่น ส่วนมากที่มีค่าคอมมิชชั่นก็ได้ราคาจากตลาดหรือ liquidity providers โดยตรงทำให้สเปรดน้อย ต้นทุนอีกอย่างที่เทรดเดอร์ต้องแบกรับเองสำหรับทุกประเภทบัญชีถ้ามีการถือออเดอร์ข้ามวันเป็นค่า SWAP ถ้าไม่ใช่บัญชี SWAP-Free โดยที่โบรกเกอร์ FBS ได้แบ่งประเภทบัญชีออกเป็น
- บัญชี Cent เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่เพิ่งเริ่มทรด สเปรดเริ่มที่ 1 pip
- บัญชี Micro แบบ Fixed spread เริ่มที่ 3 pip แล้วแต่คู่เงิน
- บัญชี Standard รวมต้นทุนการเทรดมาอยู่ที่จุดเดียวคือสเปรด เริ่มต้นที่ 0.5 pip
- บัญชี Zero Spread แม้สเปรดเป็น 0 แต่ต้นทุนการเทรดไปตกอยู่ที่ค่าคอมมิชชั่น เริ่มต้นที่ 20 ดอลลาร์ต่อ 1 ลอต
- บัญชี ECN สเปรดน้อย (ผันผวนตามราคาตลาด) ต้นทุนไปตกอยู่ที่ค่าคอมมิชชั่น
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 
โดยบัญชี Cent, Micro, Standard จะไม่มีค่าคอมมิชชั่น เพราะต้นทุนการเทรดจะไปรวมอยู่ที่สเปรดทั้งหมด เริ่มที่ 1 pip สำหรับ Cent, 3 pip สำหรับ Micro และ 0.5 pip สำหรับ Standard ส่วนบัญชี Zero Spread แม้จะมีการกำหนดแบบล็อคสเปรดที่ 0 บีบ แต่พอมาดูต้นทุนคือตั้งแต่ 20 ดอลลาร์ต่อล็อต ตรงส่วนที่เป็นค่าคอมมิชชั่นถือว่าค่อนข้างสูง
ขณะที่บัญชี ECN แม้ leverage สูงสุดแค่ 500 แต่ต้นทุนการเทรดอยู่แค่ 6 ดอลลาร์ต่อลอต เมื่อเทรดเทียบกับ Zero Spread ที่เปิดล็อต 1.00 (จะเห็นว่าแม้เรื่องสเปรดจะน้อย สำหรับบัญชี Zero Spread และ ECN แต่การคิดต้นทุนการเทรดท่านต้องดูให้เป็น) เพราะยิ่งถ้าท่านเทรดมากต้นทุนการเทรดก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าต้นทุนแต่ละออเดอร์ที่เปิดเทรดนั้นสูง
บทสรุป รีวิว FBS
FBS เป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่รู้จักกันดีในประเทศไทยเพราะมีพาร์ทเนอร์เข้าร่วมเยอะช่วยกันขยายฐานลูกค้า มีโปรโมชั่นต่อเนื่อง ขั้นตอนในการเปิดบัญชีเทรดก็ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ประเภทบัญชียังได้ออกแบบสำหรับเทรดเดอร์ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นด้วยบัญชี Cent และ Micro และใช้แพลตฟอร์มสำหรับเทรดที่เป็นที่นิยมสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยคือ Metatrader 4 และ 5
แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องสินค้าที่ให้เทรดยังมีจำนวนจำกัด และยิ่งบางประเภทบัญชีเช่น ECN จำกัดให้เทรดได้แค่ฟอเรก 25 คู่เงินเท่านั้น และอีกอย่างบัญชี Zero Spread
แม้ว่าสเปรดที่เห็นจะเป็น 0 ก็จริงแต่ค่าคอมมิชชั่นกลับสูง ตัวอย่างเช่น กรณีการเปิดเทรดฟอเรกซ์เทียบกับบัญชี ECN เมื่อเปิดคู่เงินเดียวกัน ล็อตเท่ากัน กลับกลายเป็นว่ามีต้นทุนการเทรดที่สูงกว่าบัญชี ECN มาก (เช่น EURUSD เปิดที่ 1.00 ต้นทุนบัญชี Zero อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อออเดอร์ ขณะที่ต้นทุนของบัญชี ECN อยู่ที่ 6 ดอลลาร์ต่อออเดอร์ + ต้นทุนที่มาจากสเปรดเท่านั้นเอง) ส่วนเรื่องฝากถอนถือได้ว่าง่ายมากเพราะสามารถผ่านธนาคารไทยออนไลน์ได้เลย

Editor / web master
Nakrob Seareechon เป็น CEO ของเว็บไซต์ forexthai.in.th และเป็นนักเขียนร่วม ในบทความภายในเว็บไซต์ เข้าสู่ตลาด Forex ตั้งแต่ปี 2014 ผู้มีชีวิตที่โลดโผน จากลูกเกษตรกรในชนบท จบ ป.โท สายสุขภาพ อดีตข้าราชการ มีความฝันที่จะ มีรายได้อย่างยั่งยืนเฉลี่ยเดือนละ 5 ล้านบาทภายใน 10 ปี (2029)

Writer / SEO
Krisorn Himmapan หัวหน้านักเขียนประจำ และทำ SEO ให้แก่เว็บไซต์ forexthai.in.th ประสบการณ์ในวงการ Forex กว่า 12 ปี (เริ่มเทรดเมื่อ ปี 2007 ปี) อดีตพนักงานบริษัทที่ใฝ่หา “ความสำเร็จ” จึงลาออกจากงานประจำเข้าสู่วงการ Forex ปัจจุบันเทรดเป็นอาชีพหลัก โดยกลยุทธ์หลักเน้นเทรดระยะยาว
ทีมงาน: forexthai.in.th