RSI หรือ Relative Strength Index เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับด้าน technical analysis ที่นิยมอีกตัว และจุดอยู่ในกลุ่ม Oscillator ข้อมูลที่ได้จาก RSI ถือได้ว่าเป็นประเภท leading information เพราะสัญญาณที่มาจาก RSI จะเกิดขึ้นก่อนชาร์ตที่จะแสดงตามมา ดังนั้นข้อดีคือสามารถเข้าเทรดแต่ตอนแรกๆ ได้

ข้อเสียคือสัญญาณที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นขึ้นจริงบ่อย เพราะหลักการคำนวนของอินดิเคเตอร์คือใช้ price data ที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาความเป็นไปได้ ดังนั้นการใช้อินดิเคเตอร์ไม่ว่าตัวไหนควรใช้ trading tools ในการยืนยันหรือใช้ price action เพื่อเปิดเทรด แล้วใช้ RSI เป็นการยืนยัน

โครงสร้าง RSI

RSI สำหรับเทรด forex

RSI จะแบ่งพื้นที่ระดับ 0-100 ในอินดิเคเตอร์ เมื่อเส้นอยู่ในพื้นที่ 0-30 ถือว่า Oversold area ถ้า 30-70 อยู่ในพื้นที่ Neutral area และถ้าอยู่ใน 70-100 อยู่ในพื้นที่ Overbought area จะเห็นว่า RSI แสดงสถานะตลาดค่อนข้างจะดูง่ายและชัดเจน ทั้ง 3 พื้นที่ก็จะเป็น signal ในการกำหนดช่วยการเทรดว่าจะเทรดอย่างไร และเนื่องจาก RSI ถือว่าเป็น leading indicator

เพราะสัญญาณนี้เกิดจาก RSI จะมาก่อนการเคลื่อนราคาจริงๆ ที่เกิดขึ้นบนชาร์ต ข้อดีถ้า signal ตามมาด้วยที่ trade setup เกิดขึ้นก็จะทำให้การเข้าเทรดได้แต่แรกๆ

ข้อเสียคือ signal พวกนี้ก็จะปลอมบ่อย เพราะการคำนวณมาจาก price data ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าเป็นแท่งเทียนปัจจุบันราคายังไม่ได้ปิดช่วงแท่งทียนที่ใช้ดู ก็จะทำให้ข้อมูลเปลี่ยนไปได้ ก็จะทำให้ signal เปลี่ยนไปได้เช่นกัน

RSI สำหรับเทรด forex

ดังนั้นสัญญานการเทรดที่มาจาก RSI จะมาจากพื้นที่ oversold และ overbought เป็นส่วนว่าจะอยู่เหนือเส้น 50 ถือว่าเป็นเรื่องของเทรนตามมา ถ้ามากกว่า 50 ถือว่าเทรนขึ้นและต่ำกว่าเส้น 50 ถือว่าเทรนลง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อกล่าวถึงเรื่องของเทรน ต้องไปที่ข้อกำหนดเทรนเป็นอย่างไร

วิธีการง่ายสุดและแน่นอน คือการดูเรื่องพัฒนาการ swing highs/lows ที่เกิดขึ้น สำหรับเทรนขาขึ้น ราคาก็จะทำ higher highs ตามด้วย higher lows ตามกันขึ้นไป  ส่วนสำคัญคือราคาต้องสามารถเบรค High ก่อนได้

และขึ้นไปทำ New High  และการย่อตัวมาราคาต้องไม่ต่ำกว่า Higher Low เดิม ต้องสูงกว่าเดิม  หรือเทรนลงราคาต้องทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs และต้องมีการเบรค Low ก่อนเพื่อเป็นทำ new low ให้ได้และ Lower high ต้องต่ำกว่า High ดังนั้นเมื่อเรื่อง swing highs/swing lows ต่างจาก swing highs/lows ที่เกิดจาก RSI ต่างกันออกไป

บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

เลยมีการนำ RSI มาใช้ในเรื่องของ Divergence ด้วยเป็นที่นิยมพอๆ กับอินดิเคเตอร์อื่นเช่น MACD หรือ Stochastic Oscillator อย่างภาพด้านบน จะเห็นว่าราคาทำ Lower Lows ต่อเนื่องกันได้ แต่ RSI กลับทำ Lower Low ตามมาด้วย Higher Low ต่างกันออกไปและอยู่ในพื้นที่ Oversold ด้วยที่บอกว่า ราคาได้ลงมาเยอะแล้วเป็นพื้นที่มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัว และมีทั้ง Price Action และ RSI ยืนยันกันเลยเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเทรดสวนเทรนขึ้นมาทันที

Signals เทรดสำหรับ RSI เป็นอย่างไร

ต่อเนื่องจากที่อธิบายส่วนหลักการนำเสนอของ RSI โอกาสการเปิดเทรด จะเห็นที่พื้นที่ oversold, overbought หรือ divergence ที่ timeframe ของ trade setup และแนะนำให้ใช้ timeframe ย่อยลงไปในการเข้าเทรด และอีกอย่างเนื่องจาก

เรื่องของอินดิเคเตอร์เป็นการใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วมาประมวลผล การที่สัญญาณจะกลายเป็นของปลอมหรือหลอกเป็นรื่องปกติ เพระเวลาเปิดเทรด เปิดเทรดที่ราคาปัจจุบัน ราคาวิ่งไปทางขวา ไม่ได้ถอยหลังมาทางช้ายมือแบบมองอินดิเคเตอร์ในอดีต

เลยทำให้การมองอินดิเคเตอร์ย้อนหลังจะไม่เคยผิดพลาด แต่การเปิดเทรดจริงคนละอย่าง ความเป็นไปได้คือสิ่งที่ต้องเข้าใจ เทรดเมื่อเห็นว่าความเป็นไปได้มากขึ้นมากกว่าอีกทาง

เมื่อเห็นสัญญานที่เกิดขึ้น ควรใช้อินดิเคเตอร์อื่นประกอบ เช่น Bollinger Bands หรือ Moving Averages บอกเรื่องของเทรน หรือ MACD และ Stochastic Oscillator ที่บอกเรื่องของ oscillator ทางที่ราคาเคลื่อนไหวไป หรือใช้ price action ประกอบ หรือเรื่อง confluence ของ technical analysis หลายๆ อย่างประกอบกัน ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้สูงขึ้นมา

RSI สำหรับ trade setup กับการใช้ lower timeframe

RSI สำหรับเทรด forex

เมื่อเข้าใจว่า สัญญาการเทรดจะเกิดขึ้นเมื่อ เห็น RSI มาพื้นที่ OverBought หรือ OverSold หรือเห็นการพัณนาเทรนต่างกันไปจาก price action วิธีการง่ายสุดให้ใช้อย่างน้อย 2-3 timeframes ประกอบ เช่น H1 สำหรับ Trade setup แล้วใช้ timefrmae ย่อยลงมา M15 ในที่นี้สำหรับเข้าเทรดและออกเทรด เงื่อนไขง่ายๆ โดยที่ ข้อมูลจาก RSI ใน timeframe ย่อยต้องสัมพันธกับ timeframe ใหญ่

หรือที่กำหนด trade setup จะเห็นว่าที่ ชาร์ตหลักสำหรับ setup ราคาได้ขึ้นมาอยู่พื้นที่ Overbought แค่รู้ว่าราคามาเยอะ โอกาสที่จะเปลี่ยนเทรนมี แต่พอเปิดที่ M15 จะเห็นเรื่องของการพัฒนาการเทรนระหว่าง price action และ RSI ต่างกันออกไป หรือถ้าเป็นการใช้ price action ประกอบ จะเห็นราคาได้เอาชนะพื้นที่ตรงข้าม หรือเรื่องว่า engulf เปิดเทรดตอนราคาย่อตัวกลับมาในวงกลมก็จะชัดเจน

RSI กับ Bollinger Bands

RSI สำหรับเทรด forex

หรืออีกวิธีการหนึ่งที่เพิ่มเข้าไปนอกจากการใช้หลาย timeframe ประกอบกันสำหรับ trade setup และสำหรับเปิดเทรดและออกเทรด อาจเป็นการใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นเข้าไปประกอบเพื่อยืนยันกันเอง ภาพด้านบน แม้ว่า RSI ราคาลงมาที่ Oversold ที่ชาร์ต Trade Setup ใน H4 ราคาก็เด้งจากเส้นล่างของ lower band แต่เมื่อท่านมองที่ Bollinger Bands ราคาลงมาแรง และอยู่ใกล้เส้น lower band ณ ตอนนั้น แท่งเทียนยังไม่ปิด ข้อมูลที่ใช้สำหรับอินดิเคเตอร์ทั้งสองยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ราคาอาจลงต่อก็ได้ ก็จะเห็นเป็นอีกภาพ

แต่พอ Momentum บาร์เกิดขึ้นเป็นตามที่ RSI บอก แถมด้วย Divergence เกิดขึ้นด้วย ถือว่าเป็น impulsive move เกิดขึ้น บาร์ยาวๆ แทงมาถึง Middle band และอีก 2 บาร์ต่อมาสามารถปิดเหนือกว่า middle band ได้ ตอนนี้ Bollinger Bands ก็เปิดเผยข้อมูลทางเดียวกันอีก แต่เส้น RSI ยังต่ำกว่า 50 ยังถือว่าไม่ใช่เทรนขึ้น แต่พอท่านมองพัฒนาการที่เปิดที่ชาร์ต M30 ข้อมูลละเอียดกว่า พอว่าเทรนทำขึ้น พัฒนาที่เกิดในชาร์ต timeframe น้อยกว่าก็จะเร็วกว่า ชาร์ต Trade Setup H4

เมื่อท่านมองที่ชาร์ต trade setp เป็นหลัก อินดิเคเตอร์พร้อมทั้ง price action ไปทางเดียวกันจะเห็นหลังจากที่เกิด impulsive move ขึ้นเนื่องจาก trade setup ท่านมาจาก H4 เรื่อง risk:reward มากพอที่จะทำกำไร เมื่อ trade setup ยืนยันกันแบบนี้ก็ใช้ timeframe ย่อยเทรดตาม แล้วดูว่าจะเข้าตรงไหน  ให้ใช้หลักการเดียวกัน แต่ต้องสัมพันธ์กันกับชาร์ตที่ท่านกำหนด trade setup

เปรียบเทียบกันระหว่างการเข้า Buy 1 กับ Buy 2 ดู แม้ว่าที่ Buy 1 ทั้ง RSI และ Bollinger Bands เปิดเผยทางเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่า ราคาอาจลงต่อก็ได้ เพราะยังไม่มีร่องรอยว่ามีการเข้าเทรดของขาใหญ่ อาจเกิดการ stop hunt ลงไปอีก หรือเทรนยังไม่จบก็ได้ เพราะอินดิเคเตอร์ก็จะอ่าน price data ที่เกิดขึ้นและเอามาประมวลผล แต่พอ Buy 2 ต่างกันออกไปคนละเรื่อง

เพราะรอบนี้มีร่องรอยว่าขาใหญ่เข้าเทรดมาก่อน ตรงที่ราคาขึ้นจากจุด Buy 1 เลยทำให้ ความเป็นไปได้สูงและชัดเจนเกิดขึ้นที่ Buy 2 หรือแม้แต่ที่ Buy 3 และ Buy 4 ก็หลักการเดียวกัน ท่านจะเห็นอีกอย่างว่าเส้น RSI ก็ขึ้นมาเกิน 50 ตามลำดับ

Order flow กับ RSI

จำเป็นต้องเข้าใจเรื่อง ออเดอร์ทำงานอย่างไรด้วย ค่อยจะใช้อินดิเคเตอร์ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน leading information หรือ lagging information ให้เห็นร่องรอยของความพยายามสัมพันธ์กันที่ trade setup เป็นสำคัญ

ออเดอร์ที่มาจากขาใหญ่สำคัญสุดเพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะเลยมากพอที่จะปั่นหรือดันราคาไปทางไหนก็ได้ที่ต้องการ และการเทรดตลาดฟอเรกจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเกิดการจับคู่ออเดอร์ทางที่เปิด กับออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาเดียวกัน ถ้าไม่พอก็จะวิ่งไปหาออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไป

ดังนั้นมองมุม order flow สิ่งที่ทำให้ออเดอร์ทางเดียวกันเกิดได้คือเรื่องของเทรน เทรดเดอร์ก็จะหันมาหรือหาโอกาสเปิดเทรดทางที่เกิดเทรนเป็นหลัก ทุกครั้งที่เกิดสวนเทรนขึ้นเพราะขาใหญ่เข้าเทรดนั่นเอง เพราะ ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะ พวกเขามองหาพื้นที่ๆ พวกเขามั่นใจว่ามีออเดอร์ตรงข้ามที่พวกเขาจะเปิดเทรด

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

เช่นอย่างที่เลข 1 ภาพด้านบนบอกว่า ขาใหญ่เข้าเทรดตรงที่เกิด RSI และ Bollinger Bands พอดี แต่ราคาอาจลงไปก็ได้ แต่เปิดเผยว่าพวกเขาเข้าเทรด คือตรงที่เกิด impulsive move ขึ้นมาต่างหาก

อีกอย่างพอ impulsive move เกิดขึ้น ก็เกิดเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตรงข้ามกับขาใหญ่เทรด ก็ติดลบหรือกลายเป็น trapped traders ถ้าราคาไม่ลงไปต่อก็จะหาโอกาสออกเป็นหลัก และเพราะ impulsive move เกิดขึ้นได้เปลี่ยน price structure ด้วยเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะเทรดตามที่เลยทำให้เงื่อนไข market orders เข้ามาทางที่ขาใหญ่เทรดอีก เลยทำให้ RSI ใน timeframe ย่อยทำงานเข้ากับ RSI ใน timeframe ที่เกิด trade setup ได้ดี

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments